เจาะทำเลทองมิกซ์ยูส ผังเมืองรวมกทม. (ปรับปรุงครั้งที่ 4) เค้าเปิดแนวรถไฟฟ้าสายใหม่ 3 สาย ผ่ากลางเมือง จุดพลุทำเลทองศูนย์กลางธุรกิจใหม่ มีนบุรี พระราม 9 -รัชดาฯ ดันราคาที่ดินพุ่ง พลิกโฉมเมืองแบบสุด ๆ ไปเลยนะ
โดยการปรับปรุงผังเมืองรวมครั้งนี้ ได้เพิ่มความถี่ของการใช้ประโยชน์ที่ดินสามารถพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้มากกว่า ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 เนื่องจาก กายภาพพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีความเจริญขยายตัวเกิดขึ้น จากรถไฟฟ้า ที่สำคัญ ผังเมืองรวม ยังกำหนดแนวเขตทาง ก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายใหม่ในอนาคตไว้อย่างชัดเจน ดังนั้นประชาชนเจ้าของที่ดินจะต้องเว้นระยะถอยร่น หรือตรวจสอบข้อกำหนดทางผังเมือง ก่อน ก่อสร้างอาคาร
ได้แก่ รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-ปากท่อ สายสีเทา วัชรพล-ทองหล่อ/พระโขนง-พระราม 3 และสายสีฟ้า ช่วงดินแดง-สาทร จุดพลุทำเลทองใหม่ เช่นเดียวกับ โครงข่ายถนนสายสำคัญ 148 เส้นทาง เพื่อขยายเขตทางในอนาคตหากเกิดแออัดคับคั่ง ไม่ว่าแนวเขตทางจะพาดผ่านที่ดินแปลงใด เจ้าของที่ดินต้องเว้นระยะถอยร่นตามขนาดเขตทาง ก่อนขออนุญาตก่อสร้างอาคาร
สำหรับ ทำเลที่น่าจับตาได้แก่บริเวณสถานีร่วมมีนบุรีเพิ่มพื้นที่สีแดง (ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม) ที่มีพื้นที่เป็นรองแค่ย่านศูนย์กลางเมืองอย่าง สุขุมวิท เพลินจิต ชิดลม สีลม สาทรฯลฯซึ่งจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่รับการเจริญเติบโตจากการมาของรถไฟฟ้าสายสีส้มและสายสีชมพู จุดพลุทำเลทองใหม่ที่น่าจับตาเชื่อมการเดินทางด้วยรถไฟฟ้า โครงข่ายถนน ทางพิเศษ (ทางด่วน)
เข้าสู่ใจกลางเมืองได้สะดวก และขยายการพัฒนาที่อยู่อาศัยแหล่งงานมาอยู่ย่านชานเมือง ทั้งอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบแนวสูง โครงการมิกซ์ยูส โดยมีพื้นที่สีส้ม (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง) เป็นวงล้อมรอบพื้นที่สีแดง ปัจจุบันราคาที่ดินขยับไปไกล มากกว่า 2 แสนบาทต่อตารางวา
อีกทำเลที่น่าจับตาคือพระราม 9 ตัดรัชดาภิเษก ถึงบริเวณศูนย์การค้าเดอะ สตรีท รัชดา ซึ่งย่านดังกล่าวเต็มไปด้วยอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นทั้งย่านแหล่งงานที่อยู่อาศัย แหล่งบันเทิงช้อปปิ้งในตัวเอง
ที่ไหลบ่ามาจากย่านสุขุมวิทโดยมีไฮไลต์ สถานีร่วมรถไฟฟ้าสองสาย MRT ใต้ดินสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ) ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินตัดกันแห่งแรกของไทย คอยรับส่งผู้โดยสารเข้าสู่เขตกทม. ชั้นใน โดยทำเลดังกล่าว ปรับจากพื้นที่สีน้ำตาล (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นมาก) เป็นพื้นที่สีแดง เพิ่มศักยภาพพัฒนาเป็นเมืองมิกซ์ยูส ปัจจุบันมีที่ดินแปลงใหญ่รอพัฒนาหลายแปลง โครงการขนาดใหญ่ทยอยเกิดขึ้นทั้งโครงการอาคารสำนักงาน AIA รัชดาฯ 2 ซึ่งมีเนื้อที่ 8 ไร่ และที่ดินรอพัฒนาของกลุ่มโรงพยาบาลชื่อดัง
ที่มีเป้าหมายพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้ากว่า 10 ไร่ รวมถึงแปลงที่ดินของแหลมทองค้าสัตว์ 24 ไร่ บมจ.พร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค เตรียมพัฒนาศูนย์การค้าอาคารสำนักงาน เช่นเดียวกับ บมจ.เช็นทรัลพัฒนารอพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ ฯลฯ ขณะราคาที่ดินปัจจุบันวิ่งไปที่ 1-2 ล้านบาทต่อตารางวา ที่เชื่อมต่อกับย่านมักกะสันเมืองไฮสปีดเทรนและศูนย์คมนาคมแห่งใหม่ที่จะเป็นพื้นที่สีแดง
อีกทำเลที่พูดถึงกันมาก คือ ย่านพหลโยธิน ทำเลศักยภาพ แนวเส้นทางรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียว ที่ถูกพลิกโฉม จากพื้นที่สีส้มเป็นส่วนใหญ่ยกระดับเป็นพื้นที่สีน้ำตาล ส่วนศูนย์การค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ปัจจุบันถูกกำหนดเป็นพื้นที่สีแดงอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงสถานีกลางบางซื่อ โดยราคาที่ดินอยู่ที่กว่า 1 ล้านบาทต่อตารางวาขึ้นไป และทำเลที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุด
นอกจาก ย่านพหลโยธินแล้วยังเป็นแนวเส้นทางรถไฟฟ้า อย่าง สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง ) ถนนลาดพร้าว ถนนศรีนครินทร์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม (เลียบทางด่วน) รองรับสายสีเทา (วัชพล-ทองหล่อ) ถนนรามอินทรา สายสีชมพู (ช่วงแคราย-มีนบุรี) กลุ่มนี้ ถูกยกระดับจากพื้นที่สีเหลือง (ที่ดินประเภทอยู่อาศัยหนาแน่นน้อย) เป็นพื้นที่สีส้ม พัฒนาพื้นที่ขายเชิงพาณิชย์ที่มีความถี่เพิ่มขึ้น หรือพัฒนาตึกสูงได้ เช่นเดียวกับสายสีม่วงใต้ ทำเลราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ที่เปลี่ยนแปลงมากเช่นกัน
ส่วนสายสีน้ำเงินต่อขยายไปฝั่งธนบุรี ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้นจากพื้นที่สีเหลืองเป็นพื้นที่สีส้มโดยเฉพาะทำเล จุดตัดรถไฟฟ้า 3 สาย สถานีบางขุนนนท์ สายสีส้ม สายสีแดงและ สายสีน้ำเงิน ที่กำหนดเป็นพื้นที่สีแดงและสีน้ำตาลพัฒนาเชิงพาณิชย์ ฮับการเดินทางและการอยู่อาศัยโซนที่เปลี่ยนแปลงพัฒนาได้มากขึ้นได้แก่ โซนตะวันตกและตะวันออกของกทม.
โดยเฉพาะการยกเลิกพื้นที่แนวฟลัดเวย์ เขตคลองสามวา มีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง พื้นที่ขาวทแยงเขียว (ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม จาก 90,000 ไร่เหลือ เพียง 20,000 กว่าไร่ เปิดพื้นที่พัฒนาบ้านจัดสรรได้ 100 ตารางวา และ 50 ตารางวาตามลำดับ จากเดิมต้องใช้พื้นที่ไม่น้อยกว่า1,000 ตารางวา หรือ 2.5 ไร่ เพื่อพัฒนาบ้านจัดสรร
รายงานจากกทม.วิเคราะห์ว่า ทำเลที่น่าจับตา มี 3 ทำเลทางตอนเหนือของ กทม.ได้แก่ รัชโยธิน รัชวิภาและปากทางลาดพร้าว (ห้าแยกลาดพร้าว) ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจใหม่ในย่านนี้
Tag :
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection