ไหนใครตั้งเป้าว่าปีนี้จะต้องมี "บ้าน" กันบ้าง?
อย่างที่ทุกคนรู้กันว่าพอจบปีเก่าไปแล้ว มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ก็หมดลงไปด้วย แล้วถ้าปีนี้เราคิดจะซื้อบ้านสักหลัง เราต้องเตรียมตัวเรื่องใดบ้าง จะมีค่าใช้จ่ายอะไรยังไงนะ?
ก่อนอื่นก็ต้องทำใจกันก่อนเลย เพราะว่าราคาบ้านปีนี้อาจเพิ่มขึ้นจากต้นทุนโดยเฉพาะบ้านใหม่ แต่สำหรับบ้านมือสองยังเป็นทางเลือกที่ดี เพราะถูกกว่าแต่อาจต้องแลกกับค่าปรับปรุงที่ตามมา
ซึ่งไม่ว่าจะเลือกบ้านมือไหน สิ่งที่เราต้องคำนึงอย่างถี่ถ้วนก็คือภาระค่าใช้จ่ายที่ตามมาครับ ควรเลือกในระดับราคาที่เราไหวต่อการผ่อนในระยะยาว ไม่ควรคิดถึงความชอบเท่านั้นนะ 555
อย่าลืมดูเรื่องทำเลที่ตั้งและการเดินทางด้วยล่ะ บางทีได้บ้านสวยราคาถูกใจ แต่ต้องมีค่าใช้จ่ายกับการเดินทางเข้าออกบ้านทุก ๆ ก็จะเป็นภาระที่คาดไม่ถึงได้ครับ
เงินวางดาวน์
ส่วนนี้เพื่อน ๆ ต้องเตรียมเงิน สำหรับวางเงินดาวน์ 10-20% สำหรับบ้านหลังที่สองหลังที่สามราคาไม่เกิน 10 ล้านบาทและบ้านราคาเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป
เพราะหลังจากมาตรการผ่อนผัน LTV ตามนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) สิ้นสุดลงไปเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา แต่บ้านหลังแรกจะกู้ได้ 100% ไม่ต้องกังวลส่วนนี้ครับ
ค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์
ตามปกติแล้วมักจะเป็นการตกลงที่จะร่วมกันแบ่งจ่ายระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของการซื้อขายแต่ละครั้ง โดยค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ ตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 2% ของราคาประเมินที่ดินรวมสิ่งปลูกสร้าง
เช่นหากซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาทต่อหน่วย ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ เท่ากับ 1,000,000 x 2% เป็นเงิน 20,000 บาท เป็นต้น หากบ้านราคา 2,000,000 บาท ค่าโอน 40,000 บาท บ้านราคา 3,000,000 บาท ค่าโอน 60,000 บาทเป็นต้น
สำหรับมาตรการใหม่ รัฐบาลลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอน ฯ 1% สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 3,000,000 บาทเท่ากับ บ้านราคา1,000,000 บาท ต้องเสียค่าธรรมเนียมการโอนฯ 10,000 บาท บ้านราคา 2,000,000 บาท ค่าโอนเหลือ 20,000 บาท บ้านราคา 3,000,000 บาทค่าโอนเหลือ 30,000 บาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 100 เท่าเมื่อเทียบกับมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์รอบที่ผ่านมา ค่าโอนอยู่ที่ 0.01%
ค่าจดจำนอง
ค่าจดจำนองเป็นอีกหนึ่งค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายสำหรับผู้ซื้อบ้านด้วยวิธีการกู้ขอสินเชื่อ ซึ่งเกือบ 100% มักใช้วิธีกู้สินเชื่อแทบทั้งสิ้น น้อยรายจะซื้อด้วยเงินสดเพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นมนุษย์เงินเดือน ในกรณีที่มีเงินทุนแต่ต้องการผ่อนกับธนาคารเป็นเพราะต้องการเก็บเงินสดไว้หมุนเวียนเพื่อลงทุน
ดังนั้น จึงเป็นค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยค่าจดจำจองตามอัตราปกติ จะคิดอยู่ที่อัตรา 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด แต่คิดสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท ยกตัวอย่างเช่น บ้านราคาหลังละ 1,000,000 บาท
กู้ได้ยอดเต็มจำนวนจะต้องเสียค่าจดจำนองเท่ากับ 1,000,000 x 1% เป็นเงิน 10,000 บาท แต่รัฐบาลได้คงมาตรการลดหย่อนไว้ที่ 0.01% ทำให้เหลือค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระเพียง 100 บาท
เท่ากับว่าการซื้อบ้านในปี 2566 หากซื้อบ้านราคา 1,000,000 บาท ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ที่ 10,100 บาท แต่ทั้งนี้ ต้องรอการประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่หากรัฐไม่ลดหย่อนให้ สองส่วนนี้จะมีค่าใช้จ่าย รวม30,000บาท
ค่าประเมินราคาห้องชุด(คอนโดฯ)
หากเป็นการขอสินเชื่อกับทางธนาคารเพื่อซื้อคอนโด จะมีค่าประเมินราคาห้องชุดที่เราต้องจ่ายให้กับธนาคารด้วย ซึ่งราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณไม่เกิน 3,000 บาท ต่อการประเมิน นั่นหมายความว่าหากเรายื่นกู้ธนาคารหลาย ๆ แห่งพร้อมกัน ก็จะต้องเสียค่าประเมินราคาคอนโดหลายครั้งนั่นเอง อย่างไรก็ตามแต่ละธนาคารจะคิดค่าใช้จ่ายไม่เท่ากัน โดยเฉพาะธนาคารของรัฐอาจจะคิดในราคาที่ถูกกว่าธนาคารพาณิชย์
ค่าประกันสินเชื่อและประกันวินาศภัย
ปกติแล้วในการขอสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับทางธนาคาร ลูกค้าจะต้องทำประกันสินเชื่อหรือประกันชีวิตด้วย ซึ่งเผื่อหากผู้ขอกู้เสียชีวิตไป จะได้มีเงินจากบริษัทประกันมาผ่อนชำระต่อแทน นอกจากนั้นแล้วก็ยังมีประกันวินาศภัย ที่ครอบคลุมภัยที่อาจเกิดขึ้นกับบ้านได้ เพื่อให้หากเกิดเหตุธนาคารจะได้รับการเยียวยาจากบริษัทประกัน
ค่าใช้จ่ายของประกันทั้ง 2 ชนิดเมื่อต้องซื้อบ้านแนวราบหรือคอนโดมิเนียมนี้ จะแตกต่างไปตามสิทธิประโยชน์ที่เลือกแต่ก็ถือว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว
ค่าตกแต่งที่อยู่อาศัย
จริงอยู่ที่ปัจจุบันมีบ้านและคอนโดมิเนียมพร้อมอยู่ให้ซื้อได้เลย แต่คำว่าพร้อมอยู่ อาจต้องแลกมาด้วยราคาที่สู้ไม่ไหว หรือไม่ก็ไม่ได้มีการตกแต่ง รวมเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน ส่วนใหญ่ของคนที่ซื้อบ้านซื้อคอนโดมิเนียม มักมีค่าใช้จ่ายสำหรับการตกแต่ง ต่อเติม หรือเพิ่มเฟอร์นิเจอร์เข้าไปด้วยเสมอเพื่อให้อยู่ได้อย่างสะดวกสบายในแบบที่ใจต้องการในทางกลับกัน หลายโครงการอาจมีโปรโมชั่นแจกแถมเฟอร์นิเจอร์ให้ อาจตัดภาระเงินก้อนนี้ไป
ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
แม้ปี 2566 กระทรวงการคลังจะลดภาษีที่ดินลง 15% แต่เมื่อพิจารณาจากราคาประเมินที่ดินใหม่ที่เพิ่มขึ้น หรือไม่เปลี่ยนแปลง อาจจะอยู่ในระดับราคาที่เพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิม แต่จะมีค่าใช้จ่ายตัวนี้เพิ่มเข้ามาหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่าเป็นบ้านหลังแรกหรือบ้านหลังที่สองมูลค่ามากน้อยแค่ไหนตามราคาประเมินที่ดินปี 2566-2569 ของกรมธนารักษ์
อย่างไรก็ตามศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) ระบุว่า นอกจากเงินค่าซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น อีกมากที่คนซื้อบ้านควรเตรียมความพร้อมเอาไว้ก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการเงินในภายหลังเมื่อถึงเวลาต้องโอนซื้อจริง ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายในการโอนและการจดจำนองนั้น
หากเป็นการซื้อที่อยู่อาศัยก่อนสิ้นปี 2565 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นโอกาสทองเพราะได้ส่วนลดจากมาตรการของรัฐ โดยค่าธรรมเนียมการโอนจะลดจาก 2% เหลือ 0.01% ค่าจดจำนองจะลดจาก 1% เหลือ 0.01% รวม ค่าใช้จ่ายสองส่วนนี้ 200 บาท จากการโอนและจำนองบ้านราคา 1,000,000 บาท ช่วยแบ่งเบาภระค่าใช้จ่ายสำหรับคนอยากมีบ้านได้มาก
เป็นยังไงกันบ้างครับ เห็นค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการซื้อบ้านปีนี้แล้วยังใจสู้กันอยู่หรือเปล่า แต่เอาจริงมันก็เป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ว่าปีไหนก็ต้องเจอแหละ แค่มากน้อยแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อความปลอดภัยไม่แบกภาระหนักเหนื่อยจนเกินไป ใครที่อยากซื้อบ้าน ต้องเตรียมค่าใช้จ่ายไว้ให้เพียงพอ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อผ่อนในระยะยาวด้วยนะครับ จะได้มีบ้านกันแบบแฮปปี้กันไปยาว ๆ อิอิ
Tag : อสังหาริมทรัพย์ | ซื้อบ้าน | ซื้อคอนโด
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection
แผ่นดินไหวที่ผ่านมา.. บ้านหรือคอนโดเพื่อน ๆ ได้รับผลกระทบมากน้อยกันแค่ไหน?