หนึ่งในคำถามที่ผมได้รับบ่อย ๆ ก็คือเวลาเลือกซื้ออสังหาแล้วในรีวิวบอกว่าใช้ของดี วัสดุดี นี่จริง ๆ แล้วมันดูแค่ที่ราคา แบรนด์ หรือดูที่อะไรกันแน่
อันที่จริงมันมีมากกว่านั้นนะ เพราะจริง ๆ การสร้างบ้าน สร้างอาคาร วัสดุที่น่าจะใส่ใจและให้ความที่สุดไม่ใช้วัสดุตกแต่ง แต่เป็นวัสดุที่อยู่ในส่วนโครงสร้างมากกว่า
โดยเฉพาะ "เหล็ก" ที่เป็นกระดูกสำคัญของอาคารเนี่ย ทุกวันนี้ในท้องตลาดมีให้เลือกให้แบบ หลายแบรนด์ หลายชนิดไปหมด ถ้าใครกำลังจะก่อสร้างก็ถือเป็นอีกด่านที่น่าปวดหัวใช่เล่น 555
เพราะงั้น... วันนี้ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันว่าเราจะมีวิธีเลือกเหล็กที่ดูเป็นวัสดุพื้นฐานง่าย ๆ แต่ถ้าอยากได้เหล็กที่มีคุณภาพดี เราจะมีเกณฑ์ในการเลือกยังไงกันครับ
เลือกที่ใช่ ไม่ใช่ที่ชอบ
เรื่องโครงสร้างมันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากครับ เราจะมองหาเหล็กจากแบรนด์ที่ได้ราคาถูกใจ หรือลดสเปคเพื่อความสวยงามของอาคารตามที่ชอบไม่ได้
เหล็กโครงสร้างทุกชิ้นจะคอยทำหน้าที่รับน้ำหนัก และสร้างความแข็งแรงให้กับอาคารที่เราอยู่อาศัย ดังนั้นเราต้องเลือกให้เค้าสามารถรับภาระที่เค้าต้องเจอไหว
ซึ่งส่วนนี้เราอาจจะให้วิศวกรช่วย รวมถึงปรืกษาผู้รับเหมาและผู้ขายเหล็กให้ช่วยแนะนำเหล็กที่เหมาะสมกับอาคารเราอีกครั้งก็ได้ แต่เพื่อความชัวร์เราก็ดูเบื้องต้นเองได้นะ
อย่างขนาดและรูปทรง เหล็กรูปพรรณมันก็คือเหล็ก อาจจะมีบางชนิดที่รูปร่างหน้าตาคล้ายกันมากจนแยกไม่ออก เราก็ต้องถามและเอาให้ตรงกับสเปคในแบบ
ที่สำคัญคือต้องเลือกจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี ผมเคยเจอนะ เหล็กชนิดเดียวกัน สั่งล็อตแรกมาอย่างสวย รอบสองมาคุณภาพไม่ได้เลย ต้องตีกลับด่วน ๆ
วิธีการดูก็ง่าย ๆ เหล็กต้องไม่บิดเบี้ยว หรือเกิดการคดงอระหว่างเส้น เนื้อเหล็กก็จะต้องเป็นเนื้อเดียวกันตลอดชิ้น
ถ้าลองลูบดูแล้วเกิดความรู้สึกเจอเนื้อหยาบ ๆ สัมผัสได้ถึงรอยแตก หรือรอยต่อ รอยเชื่อม นี่แสดงว่าไม่ได้มาตรฐานละ ซึ่งถ้าเลือกจากผู้ผลิตที่ดีเค้าจะประทับตราเหมือนเป็นการ QC มาให้เรียบร้อยเลย
เลือกเองไม่ได้ ใช้มาตรฐานเข้าช่วย
สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวช่วยสำหรับมือใหม่ในการเลือกวัสดุได้ดีก็คือ "ค่ามาตรฐานของวัสดุ" ที่จะมีการกำกับไว้กับวัสดุก่อสร้างที่ผลิตจากโรงงานมาตรฐาน
ซึ่งหากเป็นเหล็กเส้นก็สามารถสังเกตง่าย ๆ จากค่ารหัส SDXX ที่ระบุไว้บนเนื้อเหล็ก เช่น SD40 สามารถรับประกันแรงดึงที่จุดครากได้ที่ 4,000 กิโลกรัม/ตารางเมตร ส่วนเหล็กรุปพรรณ H Beam ก็จะเป็นชั้นคุณภาพ SS400 หรือ SM520 ประมาณนี้ครับ
ถ้าในแบบของเรามีสเปคมาแล้ว การมีรหัสพวกนี้ก็เป็นตัวช่วยเสริมความมั่นใจได้ดี แต่ทั้งนี้ขอย้ำอีกทีว่าต้องเลือกดูจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐานนะ เพราะมาตรฐานที่ไม่ได้มาตรฐานก็ยังมีให้เห็น 555
สิ่งนึงที่จะมาแก้ปัญหานี้ก็คือเลือกจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ สังเกตุจากผลงานโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมา รวมถึงเอกสารรับรองพวก มอก. ก็เป็นอีกสิ่งที่สร้างความมั่นใจได้ครับ
ส่วนตัวผมก็มีแบรนด์ที่ผมเชื่อมั่นเช่นกัน SYS Steel ลูกเพจหลายคนน่าจะเคยเห็นบทความที่ผมเอ่ยถึงเค้ามาบ้าง จนถึงตอนนี้ก็ยังเชื่อมั่นและใช้ผลิตภัณฑ์ของเค้าอยู่เหมือนเดิม 555
ซึ่งเค้าก็ได้การรับรองมาตรฐานต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะ TIS, JIS, BS, ASTM, EURONORM, AS/NZS, MS และ SNI เพราะงั้นมั่นใจได้ว่ามีใาตรฐานระดับสากลแน่นอน อุอิ
เลือกเหล็กดี ไม่มีหนักใจ
จากที่ผมเล่ามาจะว่ายากก็ยากเนอะ เพราะเราไม่ได้มีความเชี่ยวชาญหรือศึกษาเรื่องพวกนี้กันมาก่อน เอาใช้ชัวร์ก็ลองไปปรึกษาผู้รู้กันอีกครั้งก่อนตัดสินใจนะครับ
แต่อย่าลืมว่าเราเองก็ต้องใส่ใจเท่าที่เราทำได้ อย่างพวกวัสดุที่สั่งมา อย่างน้อยก็ต้องนับจำนวนหรือสุ่มเช็คคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งล็อตไว้ก่อน
รวมถึงเรื่องราคา ใคร ๆ ก็ชอบของถูก แต่ของถูกอาจจะไม่ใช้ของดีเสมอไป เราต้องไม่มองเรื่องราคาเป็นปัจจัยหลัก เพราะถ้าสร้างแล้วซ่อม ยังไงราคาก็ไปไกลกว่าแน่นอน
พวกเหล็กตัดเกรด เหล็กหลุด QC เหล็กมือ 2 ยังคงมีให้เราเลือกซื้อได้ในตลาดทั่วไป แต่ทั้งหมดก็คือเหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร เป็นไปได้ก็ไม่อยากให้เสี่ยงกันนะ
เพราะจากประสบการณ์ของผม เหล็กพวกนี้ส่วนใหญ่มักจะมีความเหนียวและความทนทานที่ต่ำ ใช้งานแรก ๆ อาจจะไม่เห็นความแตกต่าง แต่เจอฝน เจอลม นานวันไปต่างแน่นอน
ซึ่งความเสี่ยงเหล่านั้นมันก็จะมีผลต่อการใช้งานในอาคารของเราด้วย ยิ่งถ้าเป็นอาคารที่ต้องรับน้ำหนัก รับแรงกดทับสูง ๆ ก็จะอันตรายมาก ๆ จนน่ากลัวเลยครับ
เลือกเหล็กง่าย ๆ เลือกจากผู้ผลิตที่มีคุณภาพ
ผมว่าช่วงนี้ใครที่มีแผนจะทำการก่อสร้างกันอยู่ก็ใกล้ช่วงเวลาที่ดีในการก่อสร้างละนะ พายุฝนเพริ่มผ่านไป ปีหน้าฟ้าใหม่ก็กำลังจะใกล้เข้ามา
เทคนิคเล็กน้อยเหล่านี้น่าจะช่วยเพื่อน ๆ เลือกวัสดุก่อสร้างได้บ้างแหละ ยิ่งถ้าเอาไปร่วมปรึกษากับผู้เชียวชาญที่มีความชำนาญรับรองว่าต้องได้บ้านที่ออกมาแข็งแรงสวยงามแน่นอน
สำหรับคนที่ไม่รู้จะไปปรึกษาใครที่ไหน SYS Steel เป็นอีกหนึ่งแบรนด์เหล็กรูปพรรณที่ผมอยากแนะนำ ไม่เพียงมีคุณภาพดี แต่เค้ายังให้คำปรึกษาดีด้วย
สามารถนำแบบก่อสร้างที่เรามีไปให้ทางทีม SYS Steel (คลิก) ช่วยวิเคราะห์แล้วเลือกชนิดของเหล็กที่เหมาะสมกับโครงสร้างอาคารของเราได้เลย เค้าช่วยแนะนำตั้งแต่ซื้อวัสดุจนสร้างเสร็จเลยนะ 555
ตอบคำถามที่เปิดไว้ตอนต้นอีกทีว่าโครงการไหนใช้ของดีเราดูที่อะไร ถ้าจะดูจากวัสดุตกแต่งก็ช่วยบอกได้ แต่ถ้าดูถึงเนื้อในก็ต้องเลือกวัสดุโครงสร้างที่มีคุณภาพดีเช่นกัน
เราสร้างบ้าน สร้างอาคาร ก็อยากอยู่ใช้งานกันไปนาน ๆ อย่าปล่อยให้ของไม่ดี ไม่มีคุณภาพมาพาเราเสียใจ เสียเงินซ้ำซ้อนในอนาคตเลย ไม่เสี่ยงต่ออันตรายในการใช้งานด้วย เตือนละน๊าาาาา~~
Tag : SYS Steel | เหล็กรูปพรรณ | โครงสร้างเหล็ก
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection