"ครอบครองปรปักษ์" เรื่องไม่ลับที่เจ้าของต้องรู้ก่อนเสียบ้าน-ที่ดินแบบไม่รู้ตัว

"ครอบครองปรปักษ์" เรื่องไม่ลับที่เจ้าของต้องรู้ก่อนเสียบ้าน-ที่ดินแบบไม่รู้ตัว

Home   /   สาระบนดอย

โซน : 15 Dec 2021   17:00

BB_20211126_004

        ผมว่าหนึ่งในปัญหาชวนหัวที่ทำให้คนในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ที่มีที่ดินต้องดูแลต้องปวดขมับและเกิดข้อพิพาทกันบ่อยๆ หนึ่งในนั้นน่าจะหนีไม่พ้นปัญหาเรื่อง "การครอบครองปรปักษ์" นี่แหละครับ

        "การครอบครองปรปักษ์" ฟังแค่ชื่อก็เหมือนจะไม่ค่อยดีเท่าไหร่แล้ว อันที่จริงมันก็มีทั้งดีทั้งไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์นั่นแหละนะ 5555

        ความหมายของมันถ้าไม่ได้พูดถึงกันในภาษากฏหมาย แปลเป็นภาษาชาวบ้านให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงต้องบอกว่า เป็นกฏหมายที่เอื้อให้ใครก็ตามที่เข้ามาครอบครองที่ดินของเราจนครบ 10 ปี สามารถกลายเป็นเจ้าของที่ดินผืนนั้นไปโดยปริยาย

        นี่แหละครับถึงได้บอกว่ามันแล้วแต่มุมจริงๆ ถ้าเราเป็นเจ้าของที่เราก็คงไม่อยากเสียที่ดินของตัวเองให้คนอื่นไปฟรีๆ หรอกจริงมั้ย

        กรณีนี้เกิดได้ทั้งกับ "อสังหาริมทรัพย์" และ "สังหาริมทรัพย์" เลยนะ

        สำหรับ "อสังหาริมทรัพย์" ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 10 ปี

        ส่วน "สังหาริมทรัพย์" นั้น ต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปีครับ

        ซึ่งในวันนี้ผมจะพูดถึง "อสังหาริมทรัพย์" แล้วกัน

BB_20211126_005

        แน่นอนว่าฟังดูแล้วกฏหมายนี้ไม่เป็นธรรมกับเจ้าของที่ดินสักเท่าไหร่ ว่าแต่การครอบครองปรปักษ์คืออะไร มีหลักเกณฑ์อย่างไร และที่สำคัญคือมีวิธีแก้ไขแบบไหนบ้าง เดี๋ยวเรามาหาคำตอบกันเพื่อระมัดระวังป้องกันไว้ก่อนดีกว่าครับ

        หลักๆ ที่เจ้าของที่ดินต้องรู้คือ หลักเกณฑ์ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์สำหรับการครอบครองปรปักษ์ มาตรา 1382 กล่าวไว้ว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์"

        มาตรานี้ถือได้ว่าเป็นข้อกฏหมายที่ถูกอ้างถึงเสมอเกี่ยวกับการครอบครองปรปักษ์ เดิมทีก็ถูกตราขึ้นมาเพื่อให้คนที่มีที่ดินจำนวนมากหรือว่าคนที่มีที่ดินแต่ว่าไม่ได้ดูแล ปล่อยให้ที่ดินนั้นรกร้างว่างเปล่าน่าเสียดาย กลายเป็นว่าถ้าหากมีคนที่ต้องการนำที่ดินผืนนั้นๆ ไปทำประโยชน์นานกว่า 10 ปี โดยที่คนที่เป็นเจ้าของไม่ได้ทักท้วงอะไร ก็ยกกรรมสิทธิ์ให้ไปเลยประมาณนี้

        ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะกฎหมายต้องการให้ประชาชนได้ใช้ที่ดินเพื่อทำประโยชน์ไม่ใช่สะสมที่ดินไว้เป็นไอเท็มคอลเล็กชั่นนั่นเอง

        แต่การที่จะได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์มามันก็ไม่ได้ง่ายเหมือนอย่างที่คิดนะครับ เพราะอันที่จริงแล้วการจะได้กรรมสิทธิ์โดยแนวทางนี้มามันก็มีหลักเกณฑ์หลายอย่างตามกฎหมายอีกต่างหาก

        อย่างเช่นการครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นครั้งนี้จะเป็นใครก็ได้ แต่ต้อง "ไม่ใช่" ที่ดินของผู้ครอบครองปรปักษ์เอง หากเป็นผู้เช่า ก็ไม่ถือว่าเป็นการครอบครองปรปักษ์นะครับ

        หรือทรัพย์สินที่ครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ต้องเป็นการครอบครองโดยความสงบ หรือก็คือครอบครองอยู่ได้โดยไม่ถูกไล่ถูกท้วง ที่สำคัญคือ "ต้องเป็นการครอบครองโดยเปิดเผย" ไม่ใช่ครอบครองแบบปิดบังอำพราง จงใจซ่อนเร้นอะไรแบบนี้

BB_20211126_006

        แต่ข้อควรระวังคือ ต่อให้เราที่เป็นเจ้าของที่ดินจะมีโฉนดอยู่ในมือก็อย่าได้วางใจไปเชียว เพราะบางทีเจอคนหัวแหลมเราก็จนแต้มเอาได้ง่ายๆ เช่น หากมีบุคคลจะเข้ามาครอบครองปรปักษ์ อยากจะจดทะเบียนการครอบครอง หลักฐานที่ต้องใช้แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จะมี...

  • คำสั่งหรือคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่แสดงว่าผู้ขอได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง
  • บัตรประจำตัว 
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • โฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดิน

        ซึ่งไอ้เอกสารโฉนดที่ดินฉบับเจ้าของที่ดินเนี่ยต่อให้คนที่เข้ามาแย่งครอบครองจะไม่มี ตัวเจ้าพนักงานก็จะถือว่าโฉนดที่ดินสูญหายครับ จากนั้นก็จะออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วก็ดำเนินการจดทะเบียนตามควรแก่กรณีไป ซึ่งหากเป็นในกรณีนี้แล้ว ตัวโฉนดที่ดินที่เป็นตัวเดิมก็จะใช้ไม่ได้ละนะ

        หากลองคิดภาพตามแล้วคล้ายว่าจะหละหลวมเหมือนกันเนอะ มันเลยมีหลายเสียงที่เค้าบอกว่าควรจะปรับปรุงกฏหมายนี้ได้แล้ว เพราะมันมีกรณีที่เกิดข้อพิพาทกันบ่อยๆ เหมือนกัน

        สุดท้ายที่เราต้องคิดคือ แล้วจะมีแนวทางไหนที่จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้บ้างล่ะ?

        1. หมั่นไปตรวจตราที่ดินเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อที่เราจะได้รู้ว่ามีใครที่ไหนมายุ่มย่ามกับที่ดินของเราหรือไม่ รวมถึงใช้หลักการถามไถ่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงว่ามีใครมาใช้ที่ดินลับหลังเราหรือเปล่าก็ได้เช่นกันครับ

        2. ติดป้ายหรือล้อมรั้วกั้นที่ดินไว้ให้ชัดเจน เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของว่าที่ดินผืนนี้มีเจ้าของ มีกำหนดเขตแดนที่ชัดเจน

        3. ตรวจสอบดูหลักหมุดให้อยู่ที่เดิมเสมอ สังเกตดูว่าหมุดมีการเคลื่อนย้ายหรือว่ามีตรงไหนชำรุดหรือไม่ ถ้าหากพบว่าหมุดหายหรือว่าถูกย้าย ให้รีบไปแจ้งความดำเนินคดีโดยเร็วเลย

BB_20211126_007

        4. ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุกๆ 5 ปี เพื่อตรวจสอบว่าที่ดินของเรานั้นมีเพิ่มหรือลดลงไปหรือไม่

        5. มีธุรกรรมกับกรมที่ดินเป็นครั้งคราว เพื่อย้ำความเป็นเจ้าของที่ดินกับทางภาครัฐ จะยื่นเรื่องขอรังวัดที่ดินหรือยื่นเรื่องขอคัดสำเนาโฉนดที่ดินในฐานะเจ้าของที่ดินก็ได้ครับ แน่นอนว่าอย่าลืมใส่ใจการเสียภาษีตามกฏหมายกับทางกรมที่ดินหรือหน่วยงานราชการด้วยนะ

        6. หากพบว่ามีผู้อื่นเข้ามาครอบครองหรืออยู่อาศัยในที่ดินของเราให้รีบทำการคัดค้านทันทีครับ เพื่อยืนยันให้เห็นถึงความไม่สมยอม โดยเราจะตัดสินใจให้อีกฝ่ายทำสัญญาเช่า จะซื้อจะขาย หรือจะขับไล่โต้แย้งอะไรก็ว่าไป แต่ขอให้ดำเนินการอย่างใจเย็นและอดทนนะครับเพราะยังไม่มีการพิพากษา ที่ดินก็ยังคงเป็นของเราอยู่ดี

        มาถึงตรงนี้แล้วผมก็อยากจะบอกว่าไอ้เรื่องด้านบนมันก็แค่ส่วนหนึ่งของการครอบครองปรปักษ์เท่านั้นนะ เอาเข้าจริงถ้าให้ลงรายละเอียดลึกๆ แล้วอ่านวันสองวันก็ไม่มีทางจบ 

        นั่นก็เพราะว่าการครอบครองปรปักษ์เป็นกฎหมายที่มีมานาน แถมยังมีประเด็นข้อพิพาทอีกเพียบ จำเป็นต้องศึกษาในหลายๆ แง่มุมเลยล่ะ แต่ก็อยากให้ทุกคนวางใจไม่จำเป็นต้องกังวลอะไรขนาดนั้น เพราะหากเรากระตือรือร้นหมั่นไปตรวจตราที่ดินของตัวเองบ่อยๆ แสดงท่าทีไม่ยินยอมเมื่อพบว่ามีคนเข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยที่เราไม่ได้อนุญาตตั้งแต่แรกๆ ปัญหานี้ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเราแน่นอนครับ

 

Tag :



ติดดอยแนะนำ

ติดดอยรีวิว

"Supalai Kram Khao Tao" คอนโดใหม่หัวหิน ความส่วนตัวสูง มียูนิตน้อย ใกล้ชิดทะเล วิวอ่างเก็บน้ำเขาเต่า และขุนเขา

“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก

"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025

"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025

8 ข้อน่ารู้ ก่อนไปสู่ขอ "KAVALON" ที่สุดของแคมปัสคอนโด สำหรับนศ. ม.กรุงเทพ!!

"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต


ติดดอยโร้ดทู

"Origin Hotel Bangkok Victory Monument" โรงแรมโลวไลฟ์บนหัวมุมซอยรางน้ำของพี่อัศวิน

ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ

"AIP TWO" โปรเจกต์โรงแรมใหม่แกะกล่องจาก "Aira" ติด BTS ศาลาแดง และ Silom Complex แบบ 0 เมตร!!

ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่


ติดดอยสไตล์

"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ

"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ

รู้จัก "รอยเลื่อนสะกาย" ยักษ์หลับแห่งเมียนมา ที่เขย่าพสุธาจนสะเทือนถึงประเทศไทย

เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร

เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!

เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!

ปล่อยใจ ลอยไปกับสายน้ำ Second Cafe Wanglang คาเฟ่สุดชิลย่านวังหลัง ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา

วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง

เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok

เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok

คริสปี้ ครีม ส่ง 4 โดนัทรสชาติใหม่ ต้อนรับปีใหม่ไทยกับ Thai Sweet Selection เอาใจสายหวานนนน

ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection


© 2018 CONDOTIDDOI

ME ESTATE CO.,LTD
92/21 HOLLYWOOD STREET CENTER
PHAYATHAI RD. RACHATEVEE
BANGKOK 10400 THAILAND

02-656-6776
condotiddoi@gmail.com

CONTACT US

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

085-546-4694

info.condotiddoi@gmail.com

Copyright www.condotiddoi.com © 2018
web design & programming by www.smilephp.com