ข่าวดังของวงการเทคโนโลยีช่วงนี้น่าจะหนีไม่พ้นข่าวที่ว่า Facebook ประกาศรีแบรนด์ชื่อบริษัทเป็น Meta นี่แหละครับ
พูดไปแล้วมันก็นานมากแล้วนะที่เรารู้จัก Facebook และคำว่า Facebook มันก็แทบจะกลายเป็นคำที่ใช้เรียกสื่อโซเชียลมีเดียทั้งหลายเหมือนกัน การประกาศรีแบรนด์ครั้งนี้เลยน่าสนใจมากที่ว่าหลังจากนี้ต่อไป Facebook จะไปในแนวทางไหนกัน
คร่าวๆ ของทาง Facebook คือเค้าจะเปลี่ยนชื่อและรีแบรนด์บริษัทที่อาจรวมไปถึงบริการต่างๆ ในเครือไม่ว่าจะเป็นแอปฯ Facebook, Instagram และ WhatsApp
ส่วน Meta ก็ถูกเลือกให้ใช้เป็นการ Portray กับวิสัยทัศน์ที่จะสร้าง Metaverse ให้สัมผัสด้วย Mixed Reality หลากหลายประเภทของเค้า ถือเป็นการปลุกกระแสให้โลกของ Metaverse ถูกจับตามองมากยิ่งขึ้นในยุคนี้ครับ
ตอนนี้เราอาจจะยังไม่เข้าใจภาพรวมของ Metaverse ดีนัก แต่ว่าในอนาคตมันอาจเป็นเรื่องที่แสนจะธรรมดาไปก็ได้นะ
เหมือนสมัยก่อนที่เราใช้มือถือฝาพับและนึกภาพไม่ออกว่าปัจจุบันนี้เราจะใช้มือถือจอสัมผัสที่ทำได้ทุกอย่างในเครื่องเดียวนี่แหละ (แต่ใครที่สนใจเรื่องของ Metaverse อยากรู้ว่มันคืออะไร สามารถเข้าไปอ่านกันได้ ที่นี่ ครับ)
พูดถึงการรีแบรนด์ในครั้งนี้หลายคนอาจจะตั้งคำถามขึ้นมาว่ารีแบรนด์ไปทำไม ยังไงซะ Facebook ก็ดังอยู่แล้วนี่ แต่อย่าลืมนะครับว่าการรีแบรนดิ้งก็คือหนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญ เป็นการปรับภาพลักษณ์องค์กรในลักษณะหนึ่ง หลายๆ บริษัทที่ถึงจุดอิ่มตัว อยากลองเสี่ยงปรับทิศทางใหม่ก็ต้องหันมารีแบรนดิ้งกันทั้งนั้น
อีกหนึ่งสาเหตุของการรีแบรนดิ้งคือการกอบกู้ภาพลักษณ์ครับ อย่างที่ทราบกันว่าช่วงนี้พี่มาร์กแกอ่วมไม่น้อย หลายปัญหารุมเร้าและกำลังถูกตรวจสอบอย่างเข้มข้น การรีแบรนด์ในช่วงวิกฤตก็เป็นตัวเลือกหนึ่งในการกอบกู้ภาพลักษณ์กลับมาเหมือนกัน
แบรนด์ดังยักษ์ใหญ่ทั้งไทยและเทศหลายแบรนด์ก็เลือกทำแบบนี้นะ แถมยังเยอะเสียด้วย วันนี้ผมเลือกหยิบมาพูดคุยกันเพื่อดูว่าหลังจากที่แบรนด์ดังเหล่านี้รีแบรนดิ้งด้วยการเปลี่ยนชื่อแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง ประสบความสำเร็จหรือไม่ และทำไมพวกเขาต้องทำอย่างนั้น ถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจไม่น้อยเชียวนะ
SCB เปลี่ยนชื่อเป็น SCBX
ขอเริ่มจากกรณีของบ้านเราก่อนครับเพราะเพิ่งผ่านไปไม่นานนี้เองกับบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SCB หรือก็คือ “ธนาคารไทยพาณิชย์” ผู้ให้บริการด้านธนาคารและบริการด้านการเงินครบวงจร ทางนี้เค้าเพิ่งจะรีแบรนด์กันไปจาก SCB เป็น SCBX ถือว่าเป็นการเริ่มต้นใหม่ครั้งใหญ่ที่ถูกพูดถึงมากเป็นวงกว้างเลยล่ะ
SCB ประกาศขอเป็นมากกว่า “ธนาคาร” ก้าวขึ้นยานแม่ลำใหม่เพื่อปรับโครงสร้างธุรกิจ ก้าวเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีการเงิน หรือก็คือ Fintech ทั้งเทคโนโลยี ดิจิทัลไฟแนนซ์ และแพลตฟอร์มอื่นๆ พร้อมแตกไลน์ธุรกิจอีกกว่า 15 บริษัทในนาม "ขุนพลตระกูล x" ตั้งเป้า 3 ปีข้างหน้า SCBX จะสร้างการจดจำใหม่ เป็น “ตระกูล X” ที่มีความขลังของ SCB Bank และความใหม่ของธุรกิจ X ทั้งหมดด้วย
Google เปลี่ยนชื่อเป็น Alphabet
ส่วนบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ผมอยากให้เห็นในอีกมุมหนึ่งคือพี่กู๋ Google ครับ เพราะทางนี้ออกมาคล้ายๆ กับที่ Facebook เปลี่ยนชื่อเป็น Meta ก่อนหน้านั้นขอย้อนกลับไปในปี 1998 ก่อนที่เดิมทีชื่อเก่าเค้าคือ BackRub แต่มาเปลี่ยนเป็น Google ที่เราติดหูกัน จนปี 2015 นี่แหละที่ทาง Google มีแผนการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การบริหารงานในส่วนธุรกิจใหม่ๆ ของเค้ามีความคล่องตัวมากขึ้น ไม่ได้จำกัดแค่บริการเสิร์ชเอนจินอย่างเดียว
ทางนี้ก็เลยจัดตั้งบริษัทใหม่ในชื่อ Alphabet เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ไม่มีธุรกิจหลักของตัวเองแต่ว่าถือหุ้นในกิจการต่างๆ ทำให้บริษัทใหม่ดำเนินงานได้อิสระ แต่ถึงอย่างนั้นชื่อ Alphabet กลับไม่ได้เป็นที่จดจำครับ เพราะคนก็ยังเรียกกันว่า Google อยู่ดี แถมกระทั่งตอนนี้บริษัท Alphabet ก็ยังต้องเจอกับการตรวจสอบด้านการต่อต้านการผูกขาดอยู่ด้วย แต่พูดถึงในแง่ของราคาหุ้นนั้น ราคาหุ้นของ Alphabet กลับพุ่งขึ้นเกือบห้าเท่านับตั้งแต่เปลี่ยนชื่อนะ
Apple Computer เปลี่ยนชื่อเป็น Apple
อีกหนึ่งแบรนด์ที่น้อยแต่มากที่แท้นั่นคือการเปลี่ยนแปลงของ Apple ครับ มันไม่มีอะไรเลยล่ะ จากชื่อเดิม Apple Computer ในปี 2007 เค้าก็ตัดคำว่า Computer ออก แล้วเปลี่ยนเป็น Apple เฉยๆ เท่านั้นเอง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับทำให้ราคาหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นเกือบ 1,200% ในทศวรรษที่ผ่านมาเลยเชียว
กลยุทธ์นี้ง่ายมากครับ มันคือการสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้แตกแขนงออกไปได้มากมายโดยไม่ถูกจำกัดแค่ชื่อของแบรนด์ การตัดคำว่า Computer ออกจาก Apple Computer ก็สะท้อนให้เห็นว่าตัวแบรนด์ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์เท่านั้นนะ แต่เรายังใส่ใจในกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วยนั่นเอง
Tesla Motor เปลี่ยนชื่อเป็น Tesla Inc.
อีกหนึ่งธุรกิจใหญ่ที่ใช้กลยุทธ์คล้ายกันกับทาง Apple คือ Tesla ของอีลอน มัสก์ครับ จากเดิมใช้ชื่อว่า Tesla Motor ก็เปลี่ยนชื่อใหม่ซะ เป็น Tesla Inc. เพื่อรองรับการแตกไลน์ของผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมของเค้าที่จำหน่ายทั้งรถยนต์ โซลาร์รูฟ เพาเวอร์วอลล์ และอื่นๆ อีกมากมาย ไปถึงธุรกิจในอวกาศแล้วด้วยซ้ำ
Apple ไม่อยากผลิตแค่คอมพิวเตอร์ฉันใด Tesla ที่ไม่มี Motors ต่อท้ายก็ไม่อยากเป็นแค่ธุรกิจรถยนต์ฉันนั้น เป็นหนึ่งในกลยุทธ์รีแบรนดิ้งที่น้อยแต่มาก แถมคนยังไม่มีปัญหากับชื่ออีกต่างหาก
Garena เปลี่ยนชื่อเป็น SEA
ผมขอแวะมาดูค่ายนี้สักนิดครับ เพราะเป็นตลาดที่น่าสนใจและเป็นยักษ์ใหญ่ด้านธุรกิจเหมือนกัน เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก Garena บริษัทสัญชาติสิงคโปร์ที่ดำเนินกิจการทางด้านออนไลน์มานาน แต่เค้าไม่ได้ทำแค่เกมออนไลน์ แต่ยังมี E-Commerce อย่าง Shopee และ E-Wallet อย่าง Airpay ด้วย
และการทรานส์ฟอร์มบริษัทใหม่เป็น SEA Limited ของเค้าก็คือการรีแบรนด์ก้าวสู่ผู้นำด้านมัลติแพลตฟอร์มที่ให้บริการหลายรูปแบบอย่างที่ว่าไปนั่นแหละครับ แถมชื่อ SEA ของเค้ามันก็มาจากชื่อย่อของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (South East Asia) สื่อถึงความได้เปรียบในฐานะเจ้าบ้านที่อยู่ในภูมิภาค และหมายถึงทะเลที่เชื่อมทุกๆ ตลาดเอาไว้ด้วยกัน
ที่ผมหยิบยกมาเป็นตัวอย่างในวันนี้เป็นเพียงแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีนะครับ แต่ว่านอกเหนือจากนี้ยังมีแบรนด์ดังอีกหลายเจ้าเลยที่ใช้การรีแบรนดิ้งมาผลักดันให้ธุรกิจของตนเกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างขึ้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ก็ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จไปทั้งหมดนะ
แต่ถึงจะเสี่ยงก็ต้องลองครับ อีกอย่างการย่ำอยู่กับที่ก็ดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ยิ่งกับบริษัทที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของเทคโนโลยีแล้วด้วย
เพราะ Tech ไปไว แต่แบรนด์ต้องไปให้ไวกว่าครับ
Tag :
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
วันนี้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมฟังเสวนาในหัวข้อ 'อยู่สูงอย่างมั่นใจอาคาร SC ปลอดภัย 100%'
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok