หลังจากที่ทาง "เซ็นทรัล" คว้าสิทธ์เช่า Block A สยามสแควร์ไปนั้น ตัวผมเองก็ยังคิดไม่ตกเลยว่าตัวโครงการเค้าจะเลือกใช้ชื่ออะไรกันนะ พิกัดนี้มันมีชื่อเรียกติดปากเยอะไปหมดจริง ๆ 555555
และจากที่ผมเคยบอกไปในบทความ ส่อง "สยามสแควร์" หลังเซ็นทรัลคว้าบล็อก A พื้นที่ 7 ไร่ ในทำเลสุดไพรม์ (คลิก!!!) ไปว่าพื้นที่โซนนี้เป็นของ "จุฬาฯ" เกือบหมด
กินพื้นที่ยาวตั้งแต่โซนสยามแสควร์ และโซนสวนหลวง-สามย่าน รวม ๆ แล้วก็ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นแลนด์ลอร์ดใหญ่ มีที่ดินในมือกลางใจเมืองย่านปทุมวันมากถึง 1,153 ไร่
ซึ่งการถือครองที่ดินสุดไพรม์นี้เอง ที่ช่วยสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยมหาศาลให้กับเค้า จนเรียกได้ว่า "แทบจะไม่ใช่สถาบันการศึกษา แทบจะเป็นดีวีลอปเปอร์เจ้านึงแล้ว" ฮ่า ๆๆๆ
โดยปัจจุบัน จุฬาฯ แบ่งที่ดินบริหารจัดการออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1.เขตการศึกษา 595 ไร่ 2.ส่วนหน่วยงานราชการเช่า 184 ไร่ และ 3.เขตพาณิชย์ 374 ไร่
แต่ละส่วนต่างก็มีแผนพัฒนาโครงการในอนาคตอีกมากมาย โดยเฉพาะเขตพาณิชย์อย่างโซนสยามสแควร์และโซนสวนหลวง-สามย่านที่เราจะเห็นเอกชนตบเท้าเข้าเจรจาไม่ขาดสาย
แต่เพื่อน ๆ เคยเกิดคำถามขึ้นมาในใจกันมั้ยครับ... กว่าจะเป็น “แลนด์ลอร์ด” กลางใจเมืองย่านปทุมวันอย่างทุกวันนี้ "จุฬาฯ" ได้ที่ดินมาจากไหนกันนะ?
จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ต่างก็ยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่ชัดครับ ยังคงเป็นที่ถกเถียงทางมุมมองกันว่าได้รับประราชทานฯ หรือได้มาเพราะคณะราษฏร์กันแน่
มีนักวิชาการหลายคนได้เคยให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ ผมขอสรุปแบบเข้าใจง่าย ๆ ละกันนะ ถ้าใครอยากอ่านที่มาสามารถตามไปดูอ้างอิงได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างนี้นะ
เดิมทีกษัตริย์ครอบครอง
หากย้อนกลับไปถึงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ดินนี้ยังไม่มีโฉนดเลยด้วยซ้ำ แต่ก็อยู่ในการครอบครองของท่าน โดยท่านใช้ที่ดินนี้เพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์ ทรงให้ใช้ที่ดินนี้เก็บผลประโยชน์เพื่อบาทบริจาริกา (ภรรยาที่เป็นสามัญชนของพระมหากษัตริย์: ราชบัณฑิตยสถาน)
ส่งต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของสถาบันการศึกษาแห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน” เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2442 (นับแบบเก่า) ณ ตึกยาว ข้างประตูพิมานชัยศรี ในพระบรมมหาราชวัง
หลังสำเร็จการศึกษาให้นักเรียนเหล่านี้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก จึงมีการเปลี่ยนนามโรงเรียนเป็น “โรงเรียนมหาดเล็ก” เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2445 เพื่อเป็นรากฐานของสถาบันการศึกษาขั้นสูงต่อไป และเห็นควรว่าน่าจะขยายกิจการให้กว้างขวางขึ้น
พระองค์จึงได้พระราชทาน “เงินทุนที่เหลือจากการที่ราษฎรได้เรี่ยไรเพื่อสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า จำนวน 982,672.47 บาท” ให้เป็นกองทุนสำหรับใช้ปลูกสร้างอาคารเรียน พร้อมกับกำหนดให้ที่ดินตำบลปทุมวัน ซึ่งอยู่ในความดูแลของพระคลังข้างที่เป็นอาณาเขตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 1,309 ไร่
และเงินที่เหลือจากการสร้างก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เพื่อกิจการของโรงเรียนต่อไป ทั้งนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนิน และทรงวางศิลาพระฤกษ์ในการสร้างอาคารเมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 โดยมีการจัดการศึกษาใน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนรัฎฐประศาสนศาสตร์ โรงเรียนคุรุศึกษา (โรงเรียนฝึกหัดครู) โรงเรียนราชแพทยาลัย โรงเรียนเนติศึกษา (โรงเรียนกฎหมาย) และโรงเรียนยันตรศึกษา
ทั้งเงินทุนพระราชทานและที่ดินพระราชทานนี้ ถือว่าเป็นกองทุนสำคัญของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับตั้งแต่แรกเริ่ม อย่างไรก็ดียังมิได้พระราชทานกรรมสิทธิ์ในที่ดินผืนนี้ให้แก่มหาวิทยาลัยอย่างเด็ดขาด เนื่องจากยังติดอยู่ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ ดังนั้นในทางทฤษฎี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต้องทำสัญญาเช่าที่ดินกับพระคลังข้างที่
ซึ่งจนถึงตอนนี้ที่ดินนี้ก็ยังไม่มีโฉนดนะครับ เพราะสมัยนั้นยังไม่สนใจเรื่องโฉนดที่ดินกันมากนัก ต่อมาในวันที่ 23 มีนาคม 2459 พระองค์เลยได้ทรงออกโฉนดที่ดินในครอบครองนี้ให้กับพระองค์เองเป็นโฉนดที่ดินฉบับที่ 2057 2058 และ 2059
จุดเปลี่ยนของแผ่นดิน
สถาบันการศึกษานี้ก็ได้ดำเนินการสอนมาเรื่อย ๆ สืบเนื่องมาถึงสมัยรัชกาลที่ 8 ปรากฏหลักฐานสารบัญจดทะเบียนว่าเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2478 พระองค์ทรงให้จุฬาฯ เช่าที่ดินเป็นเวลา 30 ปี
แต่พอถึง 12 ธันวาคม 2483 พันเอกหลวงพิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้ออกกฎหมายโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้มหาวิทยาลัย เปลี่ยนนามผู้ถือเป็นกระทรวงการคลัง (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) และในวันเดียวกันจุฬาฯ ก็ทำสัญญาเลิกเช่าและกระทรวงการคลังก็ “ให้” ที่ดินสองแปลงนี้แก่จุฬาฯ
ตามรายละเอียดปรากฏใน “พระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน อันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตำบลปทุมวัน จังหวัดพระนคร ให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๔๘๒” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้รับกรรมสิทธิ์ที่ดินพระราชทานผืนนี้มาโดยสมบูรณ์
จุดนี้เองเลยเป็นข้อกังขาที่ต้องยอมรับครับว่าการโอนที่ดินให้จุฬาฯ จากเดิมเช่าปลูกสร้างสถานศึกษานั้นเกิดขึ้นในสมัยคณะราษฎรจริง ๆ เพราะถ้าเป็นรัฐบาลในสถานการณ์ปกติคงไม่ได้เกิดขึ้น โดยมติคณะรัฐมนตรี ได้ลงมติให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเงื่อนไขในพระบรมราชโองการรัชกาลที่ 5
ซึ่งให้ยกที่ดินรายนี้ไว้ในบัญชีเลี้ยงชีพบาทบริจาริกาในพระองค์ เพื่อเก็บผลประโยชน์ที่ได้จากที่ดินนั้นเฉลี่ยส่วนให้บาทบริจาริกาเป็นคราว ๆ ฉะนั้นการที่จะโอนไปให้แก่จุฬาฯ จะกระทำได้ก็แต่โดยทางพระราชบัญญัติ กระทรวงการคลังจึงขอเสนอร่างพระราชบัญญัติ
สรุปก็คือวิวัฒนาการของที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผืนนี้นั้น เริ่มจากพระมหากษัตริย์ทรงใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ส่วนพระองค์ ก่อนจะพัฒนาก่อตั้งมาเป็นสถาบันการศึกษาภายในวัง และพัฒนาต่อเนื่องมาจนเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่
ด้านสิทธ์ของที่ดินแรกเริ่มเดิมทีอยู่ในความครอบครองของพระมหากษัตริย์ จนมีการพระราชทานเงินทุนก่อตั้งสถาบันการศึกษา และออกโฉนดที่ดินในครอบครองนี้ให้กับพระมหากษัตริย์ ก่อนที่ภายหลังเปลี่ยนเป็นปล่อยเช่าให้กับทางมหาวิทยาลัย
เดือนตุลาคม พ.ศ. 2482 รัฐบาลคณะราษฎรจึงได้ผลักดันให้ออกพระราชบัญญัติโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้ไปสู่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และให้เป็นทรัพย์สินเพื่อการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งหมดนั่นเอง
สรุป
จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงด้านมุมมองกันอยู่ดีครับ ว่าที่ดินนี้ควรอ้างสิทธ์ได้มาจากไหนกันแน่ แต่ที่แน่ ๆ ก็คือการที่ "จุฬาฯ" ถือครองที่ดินสุดไพร์มนี้ ส่งผลให้จุฬามีรายได้มหาศาลจากการให้เช่าที่ดินทั้งแก่ภาครัฐและภาคเอกชน
กลายเป็นทรัพยากรสำคัญของจุฬาฯ ในการพัฒนาการเรียนการสอน และความสะดวกสบายแก่บุคลากรของจุฬาฯ จนถึงทุกวันนี้ จากข้อมูลตัวเลขรายได้ของจุฬาฯ ในปี 2558 พบว่ามีรายได้รวมทั้งหมดของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถึง 21,538 ล้านบาท
แบ่งเป็นจากรัฐบาล 7,117 ล้านบาท จากการดำเนินงานของสำนักงานจัดการทรัพย์สิน 4,950 ล้านบาท และจากการจัดการศึกษา 2,927 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันผ่านมาถึง 6 ปีจากข้อมูลนั้นย่อมมีรายได้มากกว่าเดิมอย่างแน่นอน
ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจนะ... ว่าเคยมีการจัดอันดับ มหาวิทยาลัยที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหรือเปล่า ส่วนตัวแล้วผมว่ายังไง "จุฬาฯ" ก็ติดอันดับแบบไม่ต้องสงสัย เพราะแค่รายได้ของมหาลัยเอง ก็มากกว่างบประมาณแผ่นดินที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ได้รับแล้ว อิอิ
References :
- http://www.cu100.chula.ac.th/story/386/
- https://www.thansettakij.com/property/496475
- https://mgronline.com/politics/detail/9630000083891
- https://www.area.co.th/thai/area_announce/area_press.php?strquey=press_announcement3998.htm
Tag : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | ที่ดินจุฬา | ปทุมวัน
ผมคิดว่าทำเล ‘พัฒนาการ’ = ‘ทองหล่อ-เอกมัย แบบ eco’ อ่านเสร็จอย่าเพิ่งด่ากัน ขออธิบาย
ทุกครั้ง หลังไปดูโครงการของ "Assetwise" แถวมหาวิทยาลัย สิ่งหนึ่ง ที่เหมือนผมได้รับกลับมาคือ "พลังชีวิต"
หลังจากที่ "Flexi สาทร-เจริญนคร เฟส 1" มีผลตอบรับที่ดีมาพอสมควร ตอนนี้ ทาง "Sena Development" ก็ได้ฤกษ์ เตรียมปล่อย "Flexi สาทร-เจริญนคร เฟส 2" มาให้ได้จับจองกันแล้วนะครับ
มีใครรอรถไฟฟ้าสายสีส้มกันอยู่บ้างเอ่ย? ล่าสุดมีโครงการใหม่แกะกล่องจากออริจิ้นฯ ราคาน่ารักน่าคบหา ใกล้รถไฟฟ้าสายสีส้ม งานนี้แอบกระซิบว่าถ้าคุณเป็นทาสหมา ทาสแมว ต้องหยุดอ่านโดยด่วน กับ "Origin Place รามคำแหง 153"
รถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นหนึ่งในสายที่หลายคนคงตั้งตารอมากที่สุด ด้วยความที่สายสีชมพูใกล้เปิดให้บริการเต็มแก่เลยเริ่มมี 'คอนโด' ผุดขึ้นมาเป็นระยะๆ ตัวผมแอบไปดูทำเลโครงการใหม่มาหนึ่งตัวด้วยแหละ ฮิฮิ โครงการนี้ไม่ใช่ของใครอื่นไกลเป็น 'พี่แอล' (LPN) ของเรานี่แหละ คอนโด 'พาร์ค 168 นพรัตน์-รามอินทรา' แบรนด์คอนโดที่มาพร้อมเลขนำโชค
หลังจากเมื่อปีกลายออริจิ้นขึ้นแท่นเจ้าอสังหาฯ ที่เปิดตัวโครงการคอนโดเยอะที่สุด ปีนี้ผมแอบคิดว่าพี่อัศวินคงเพลาๆ ลงแล้วแหละ แต่เปล่าเลย ล่าสุดแง้มโครงการใหม่ปักหมุดย่าน 'ปิ่นเกล้า' มาอีกหนึ่งโครงการที่รอเปิดตัวอย่างโครงการ 'The Origin Pinklao' (ดิ ออริจิ้น ปิ่นเกล้า) คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ เอาใจทาส Gen Z
เป็นโปรเจกต์แลนด์มาร์กใหม่จากทาง "โรงแรมนารายณ์" ที่เห็นรูปแล้วต้องอุทานออกมาเลยว่า "นี่มันบ้าไปแล้ว!"
ช่วงนี้เพื่อนผมหลายคนเพิ่งเสียภาษาที่ดินกันไป แต่ก็มีอีกหลายคนเลยที่ทักมาสอบถามว่าอยากจะหาที่ดินใหม่ไปครอบครอง
ใคร ๆ ก็มักอยากจะมี Passive Income กันเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ซึ่งหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความนิยม และมีความปลอดภัยสูงนั่นก็คือการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง
เมื่อวันก่อนเห็นหลายๆ น้องๆ ว่าที่เฟรชชี่หลายคนลุ้นผล TCAS กันจนเกร็งเลย ยังไงก็ยินดีกับน้องๆ เด็ก 66 ทุกคนด้วยนะครับ ส่วนใครที่พลาดรอบนี้ก็ไม่เป็นไรนะ!! พอขึ้นมหาลัยแล้ว มันก็ได้ทำอะไรใหม่ๆ เยอะเนอะ อย่างเช่นการไปใช้ชีวิตเป็นเด็กหอกันครั้งแรก!! วันนี้เลยขอบิ้วอารมณ์ว่าที่เฟรชชี่ที่กำลังจะได้ไปอยู่หอทั้งหลาย ด้วยการมัดรวมหอพักสุดเจ๋งทั่วโลกต้อนรับเปิดเทอมใหม่!!
ได้ข่าวคราวมาสักพักแล้วว่า สตรีมมิงยักษ์ใหญ่ "Netflix" จะยกเลิกการหารบัญชี และก่อนหน้านี้ก็มีการทดสอบไปในบางประเทศแล้ว ล่าสุดพี่ไทยก็ไม่รอด
ครั้งแรกที่เห็นภาพโครงการนี้ออกมา ผมคิดในใจว่า 'แล้วจะรอดจากยุงหรอ' โครงการนี้มาจากประเทศจีนครับ ชื่อว่า "Liuzhou Forest City" จากประเทศจีนครับ แต่ก่อนหน้านี้ผมเคยเห็นอาคาร 'ป่าแนวตั้ง' แบบนี้มาก่อนแล้วกับโครงการ 'Qiyi City Forest Garden' ซึ่งอันนี้เค้านี้สร้างเสร็จ มีการเข้าอยู่ไปแล้วและพบปัญหาแบบที่ผมบอกเลย คือ 'ยุง'