ใครที่ตามคอนเทนต์ "Tokyo Olympic 2020" ผมคิดว่าหลายๆ คนน่าจะมีความคิดเดียวกันคือ นอกจากมันจะเป็นการแข่งขันกีฬาที่เราจะได้เห็นคนกลุ่มหนึ่งแสดงศักยภาพด้านการกีฬาออกมาแล้ว อีเว้นต์นี้มันยังมีอะไรมากกว่านั้นครับ
นั่นเพราะยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่สร้างผลงานออกมาเพื่อประกาศให้โลกเห็นถึงศักยภาพทางด้านต่างๆ ของประเทศเจ้าภาพนี่แหละ
และยิ่งโอลิมปิก 2020 ครั้งนี้จัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่น เราจึงสามารถเห็นถึงความเป็นญี่ปุ๊นนนญี่ปุ่นฉายออกมาทางอะไรหลายๆ อย่างในงานนี้
ทางเจ้าภาพเค้าก็ตั้งเป้าหมายชัดเจนสำหรับการจัดงานครั้งนี้ ว่ามันคือการประกาศตัวเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน เน้นสิ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีดีเทลต่างๆ มาให้เห็นกันอยู่เรื่อยๆ
หนึ่งในสิ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและโชว์ความเป็นญี่ปุ่นออกมาได้เต็มที่ก็คือ "งานสถาปัตยกรรม" ของเค้านี่แหละครับ!
อย่างที่รู้กันนะ ว่าญี่ปุ่นเค้าเป็นประเทศที่เหมาะสำหรับคนที่ชื่นชอบความสุนทรีย์ของงานศิลปะมากๆ เพราะแหล่งท่องเที่ยวหรือแลนด์มาร์คบ้านเค้านั้นเต็มไปด้วยความสวยงามของศิลปะ งานดีไซน์ และสถาปัตยกรรม เป็นขวัญใจของสถาปนิกหลายๆ คนเลยล่ะ
และโอลิมปิก 2020 เองก็เป็นสนามให้สถาปนิกญี่ปุ่นปล่อยของออกมากันอย่างเต็มที่เลย
อย่างสนามแข่งขันกีฬาที่ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังมากมายของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น Kengo Kuma, Kenzo Tange หรือ Fumihiko Maki
ว่าแต่ว่า แต่ละอาคารเค้าสร้างมาได้อลังการขนาดไหน วันนี้ผมคัดตัวที่น่าสนใจมาฝากกันแล้วครับ
Japan National Stadium by Kengo Kuma
สนามกีฬาแห่งชาติญี่ปุ่น พระเอกของงานครั้งนี้ถูกออกแบบโดย Kengo Kuma ซึ่งถ้าหากพูดถึงวงการสถาปัตยกรรมร่วมสมัยของญี่ปุ่นหรือของโลก หลายคนต้องคุ้นชื่อคนคนนี้เป็นอย่างดีล่ะครับ
สนามหลักแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่สำหรับพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน รวมไปถึงการแข่งขันกรีฑาและฟุตบอลด้วย สนามบิ๊กเบิ้มแห่งนี้สร้างมาจากไม้ 47 ชนิดจาก 47 จังหวัด (แน่นอนว่าเป็นการ "ขอยืม" มาครับ ชอบๆ) เก๋ตรงที่สนามจะมีระเบียงเอาไว้สำหรับปลูกพืชท้องถิ่นด้วยนะ เป็นการเสริมเข้ามาเพื่อสร้างความกลมกลืนให้กับบริเวณโดยรอบครับ
Tokyo Aquatics Centre by Tange Associates and Yamashita Sekkei
ตัวนี้มาแบบเรียบหรูครับ เป็นศูนย์กีฬาทางน้ำแบบ 15,000 ที่นั่ง ออกแบบโดย Paul Tange จาก Tange Associates และคุณพ่อของเค้าอย่าง Kenzo Tange เองก็ออกแบบอาคารสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกช่วงปี 1964 เหมือนกันครับ
สำหรับอาคารแห่งนี้สร้างมาเพื่อใช้ให้เป็นสถานที่แข่งขันกีฬาว่ายน้ำและดำน้ำ ตัวอาคารสร้างเป็นทรงพีระมิดกลับด้าน สะท้อนรูปร่างของอัฒจันทร์ภายใน โดยหลังการแข่งขัน ความจุของสถานที่จะลดลงเหลือ 5,000 ที่นั่ง
Yoyogi National Stadium by Kenzo Tange
สนามหน้าตาเหมือนหลุดออกมาจากหนังไซไฟแห่งนี้ เป็นสนามที่สร้างขึ้นมาเพื่อการแข่งขันรักบี้ แฮนด์บอล แบดมินตัน และวีลแชร์ครับผม พูดก็พูดเถอะว่าโดดเด่นไม่เบา ก็มาจากฝีมือสถาปนิกรุ่นเก๋า เจ้าของรางวัล Pritzker Architecture Prize ทั้งทีอ่ะเนอะ
ตัวสเตเดียมสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1964 แล้วครับ เดิมทีมีไว้สำหรับการแข่งขันดำน้ำและว่ายน้ำในช่วงโอลิมปิกฤดูร้อนปี 1964 แต่สุดท้ายก็เปลี่ยนมาเป็นสนามกีฬาในร่ม ใช้สำหรับกีฬาประเภทฮอกกี้น้ำแข็งและเบสบอลเป็นหลักแทน จนถึงตอนนี้ก็ยังถูกนับได้ว่าเป็นไอคอนทางสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้าแห่งหนึ่งเลยล่ะ
Village Plaza by Nikken sekkei
อย่างที่บอกครับว่าดีไซน์ของ Village Plaza นั้น ต้องยอมรับในเรื่องของการเก็บรายละเอียดความเป็นญี่ปุ่นของเค้าเลย สำหรับตัวอาคารนั้นจะตั้งอยู่ย่านริมน้ำของโตเกียว พิเศษคือออกแบบมาจากอาคารไม้แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นและทำการประยุกต์ให้มีความร่วมสมัยมากขึ้น
พื้นที่กว่า 5,300 ตารางเมตรนั้นทำจากไม้ที่ได้รับบริจาคมาจากเทศบาล 63 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น และใช้ไม้ไปกว่า 40,000 ชิ้น โดยทุกชิ้นจะมีตราชื่อเทศบาลที่บริจาคประทับอยู่ด้วย แน่นอนว่าไม้พวกนี้หลังจบการแข่งขันแล้วเราสามารถถอนออกแล้วส่งกลับไปให้ทางเทศบาลเพื่อนำไปใช้ซ้ำ แปรรูป หรือทำการรีไซเคิลได้อีกครั้งด้วยครับ
Tokyo International Forum by Rafael Viñoly Architects (1997)
อาคารแห่งนี้ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1997 แล้วเพื่อส่วนบริหารของโตเกียว โดยโอลิมปิกครั้งนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แข่งขันยกน้ำหนัก และผมเห็นแล้วต้องบอกเลยว่า structure เค้าสวยงามมากกกกก
ตัว Tokyo International Forum มีล็อบบี้หลักที่ใช้โครงสร้างเป็นผนังกระจกสูง 60 เมตรตัดกันทั้งหมด 2 จุด ที่พอเราเห็นโครงสร้างแล้วก็อดนึกไม่ได้ว่ามันจะทนจริงมั้ย แต่ก็อย่าลืมนะครับว่าเค้าสร้างมาหลายปีแล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังคงอยู่ดี แถมระบบโครงสร้างของ Glass Hall เองก็เบาและยืดหยุ่นมากๆ ทนต่อแรงแผ่นดินไหวระดับรุนแรงได้ สตูดิโอผู้ออกแบบสถาปัตยกรรมในญี่ปุ่นเองยังบอกเลยว่า Tokyo International Forum เป็นโครงสร้างที่กล้าหาญที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่นเลยล่ะ
Ariake Gymnastics Centre by Nikken Sekkei + Shimizu Corporation
ส่วนตัวผมคิดว่าการออกแบบของอาคารแห่งนี้น่าสนใจเป็นพิเศษครับ เพราะเจ้าอาคารที่ดูไปดูมาเหมือนเรือไม้ลอยน้ำนั้น เค้าบอกว่ามันเป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนมากเลยนะ เป็นงานแรกของญี่ปุ่นที่ใช้โครงสร้าง Timber Beam Strings และ Cantilever Trusses เข้ามาใช้
ตัวอาคารใช้วัสดุที่ทำจากไม้เป็นหลัก มีโครงสร้างไม้ยาวกว่า 90 เมตร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วทั้งสนามกีฬาเลยครับ หลังคาเองก็หุ้มด้วยไม้ ที่นั่งก็ทำจากไม้ เป็นสถานที่ใช้แข่งขันยิมนาสติกและบอคเซีย จุไดั 12,000 ที่นั่งแต่หลังจบการแข่งขันก็จะถอดสแตนด์ชั่วคราวออกครับ
Musashino Forest Sport Plaza by Nihon Sekkei
ผลงานอีกหนึ่งชิ้นที่น่าสนใจก็คือนี่แหละครับ สถานที่สำหรับแข่งแบดมินตัน วีลแชร์บาสเกตบอล และปัญจกีฬา (การแข่งกีฬารวม 5 ชนิด คือ ยิงปืน ฟันดาบ ว่ายน้ำ ขี่ม้า และวิ่งแข่ง) เท่ตรงที่เค้าใช้คอนกรีตจากมวลรวมรีไซเคิลเพื่อลดปริมาณเศษวัสดุคอนกรีตจากการก่อสร้าง ทดแทนวัสดุหินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ รวมไปถึงการใช้เหล็ก กระเบื้องและพื้นไวนิลรีไซเคิลครับ
ตัวเซ็นเตอร์สามารถจุคนได้มากกว่า 10,000 คน และด้านในยังมีสระว่ายน้ำ ยิม พื้นที่กีฬาอเนกประสงค์ และฟิตเนสสตูดิโออีก 2 แห่งที่เปิดให้บุคคลทั่วไปใช้งานได้ด้วยนะ และเซ็นเตอร์แห่งนี้เป็นเซ็นเตอร์แห่งแรกที่สร้างเสร็จสำหรับโตเกียวโอลิมปิก 2020 ด้วยครับ
ยังมีสเตเดียมและเซ็นเตอร์อีกหลายที่ที่น่าสนใจนะครับ ซึ่งผมเองก็คิดว่าน่าเสียดายไม่น้อยที่ญี่ปุ่นมาเจอกับโควิด-19 ทำให้ต้องคืนตั๋วและเข้าเนื้อตัวเองไปไม่น้อย แต่ก็นับได้ว่าการจัดการของเค้าไม่มีอะไรน่าผิดหวัง ยังคงสนใจในทุกรายละเอียด ครีเอทสมความเป็นญี่ปุ่นมากๆ เลย
Tag :
ว่ากัน 'ซอยหลังสวน' เปรียบเสมือน "แมนฮัตตันแห่งกรุงเทพฯ" คำกล่าวนี้ผมว่าไม่เกินจริงเลยนะ เพราะซอยหลังสวน ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย และมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี!!
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
ไม่อยากจะเชื่อว่า คอนโดที่มีค่าตัวเริ่มระดับ 7 หมื่นกลางๆ/ตร.ม. จะให้ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ WASHLET (แบบที่ใช้ที่ญี่ปุ่นอ่ะ)
จะว่ายังไงดี...นี่น่าจะเป็นคอนโดทำเลนิชสุดๆ ไปเลยก็ได้ล่ะมั้ง ไม่งั้นก็คงต้องบอกว่าคือการ "บุกเบิก" อะไรทำนองนั้น
มาตามคำสัญญาครับ โครงการคอนโดใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสถานีพหลโยธิน 59 'Phyll Pahol 59 station' (ฟีล พหลฯ 59 สเตชั่น) จะมีภาษีดีกว่าในเรื่อง 'ระยะทาง' ครับ เพราะตัวนี้เค้าไม่ใช่แค่ 'ใกล้' รถไฟฟ้า แต่ตัวนี้เค้า 'ติด' รถไฟฟ้า เรียกได้ว่า 0 ก้าวถึงรถไฟฟ้า ประตูคอนโดจ่อหน้าบันไดขึ้นสถานีกันเลยทีเดียว
เกริ่นนำมาเลยว่านี่คือการเดินส่องทำเลโครงการ ที่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นโครงการอะไรนะครับ ข้อมูลในมือตอนนี้ทราบแค่ว่าเป็นที่ดินจาก AP ขนาดที่ดินเท่านี้ ยังไงก็ต้องคอนโดละวะ!!
หลังจาก ปล่อยให้สงสัยมานาน ว่าที่ดินตรงถนนเลียบหาด หรือพัทยา สาย 1 แถวๆพัทยากลาง ที่พี่สิบหมื่น ล้อมรั้วปักความเป็นเจ้าของมาได้เป็นปีๆล่ะ จะพัฒนาเป็นโครงการอะไรหนอ?
ไหนใครกำลังจะรีไฟแนนซ์กันบ้าง ใครกำลังผ่อนบ้านอยู่เพลิน ๆ นี่ห้ามลืมเด็ดเลยนะ เพราะหนี้บ้านพอพ้น 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดเลย
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง...
ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT พระราม 9 ประมาณ 420 ม. เป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญวิ่งเป็น Loop เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายอื่นมากมาย จะไปไหนก็ง่ายดาย
‘ภูมิสถาปนิค‘ ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า “Lanscape โครงการนี้สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ไม่มีที่ไหนใกล้เคียงความเป็น ‘สวนแบบ Classic’ ที่เป็น ‘quite luxury’ ได้เท่านี้แล้ว“
เฮ้ย! เนื้อที่ดีมันเป็นแบบนี้นี่เอง 5555