เปิดตัวกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับสำหรับการแข่งขัน “โอลิมปิกเกมส์” ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากที่ถูกเลื่อนมาเป็นระยะเวลากว่าหนึ่งปี จากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19
เอาจริงจนถึงตอนนี้ตัวผมเองยังแอบลุ้นอยู่เลยนะ ว่าเค้าจะสามารถจัดได้อย่างที่ตั้งใจ และแข่งขันกันจนจบอย่างตลอดรอดฝั่งมั้ย 555555
เพราะนอกจากการวุ่นวายเรื่องควบคุมโรคระบาดในการแข่งขันแล้ว ปัญหาที่ดูจะหนักกว่าก็คือประชาชนบางกลุ่มที่ไม่อยากให้มีการจัดขึ้นเลยเนี่ยสิ
เอาจริงก็เข้าใจพวกเค้านะครับ เพราะสถานการณ์ของโควิดภายในกรุงโตเกียวตอนนี้ก็ยังไม่คลี่คลายดี คนกลุ่มนี้เลยอยากให้ควบคุมให้ได้มากกว่านี้ก่อน หรือยกเลิกไปเลย
แต่มันไม่ใช่แค่นั้นสิครับ สำหรับการจัดแข่งขันงานกีฬาแต่ละครั้งนั้น ยิ่งเป็นขนาดใหญ่อย่างโอลิมปิกแล้วด้วย ประเทศเจ้าภาพจะต้องมีการลงทุนอย่างมหาศาล
โดยค่าใช้จ่ายที่ว่า ก็เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการประเมินเมืองก่อนที่จะยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 ถึง 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
และเมื่อได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดงานแล้ว เมืองหรือประเทศนั้นๆ ก็จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงโครงการต่างๆ เพื่อให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาที่จะเดินทางมาได้
ตั้งแต่ระบบถนน รถไฟ สนามบิน ไปจนถึง การสร้างสนามกีฬาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของโอลิมปิก และโรงแรมที่มีเพียงพอตามที่คณะกรรมการโอลิมปิกกำหนดไว้
ซึ่งเมื่อเกิดการลงทุนก็ย่อมเกิดการแสวงผลกำไรเป็นธรรมดา แม้จากข้อมูลการจัดงานหลายครั้งที่ผ่านมา ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นกลับช่างน้อยนิดก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น ในงานโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ซึ่งก่อให้เกิดรายได้เพียงแค่ 3,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการจัดงานกว่า 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ทีนี้หลายคงคงจะเริ่มสงสัยแล้วใช่มั้ยครับ ลงทุนก็เยอะ ผลตอบแทนที่ได้ก็ดูเหมือนจะไม่คุ้ม แล้วทำไมเค้ายังอยากเป็นเจ้าภาพ และเดินหน้าจัดการแข่งขันกันต่อไปล่ะ?
อย่างแรกก็คงเรื่องผลประโยชน์ของคนบางกลุ่มที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดงาน ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจก่อสร้าง หรือธุรกิจในกลุ่มภาคบริการ การท่องเที่ยวเป็นต้น
อย่างที่สองก็คือการแสดงแสนยานุภาพของประเทศหรือสัญลักษณ์บางอย่างออกมา เพราะนอกจากจะได้พัฒนาเมืองไว้รองรับการแข่งขันแล้ว ท้ายที่สุดประชาชนก็จะได้เมืองที่ดีขึ้นด้วย
อย่างสุดท้ายก็คือผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่จะตามมา ซึ่งแม้อาจจะไม่ได้เห็นตัวเลขอย่างชัดเจนภายในปีที่มีการแข่งขัน แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่ามีนัยยะสำคัญต่อกันครับ
ยกตัวอย่างในภาคอสังหาริทรัพย์ของพวกเราละกัน บรรดานักลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงโตเกียวบางกลุ่มเค้าก็ยกมือสนับสนุนให้โอลิมปิกเดินหน้าจัดต่อไปนะ
เพราะการแข่งขันดังกล่าวเปรียบเสมือนการเปิดหน้าต่างที่แสดงให้เห็นภาพบ้านและที่ดินทั่วกรุงโตเกียว ซึ่งจะช่วยให้เกิดความสนใจเข้ามาลงทุน
และทำให้ภาคอสังหาริมทรัพย์ของญี่ปุ่นขยายตัวเติบโตได้ดี และช่วยให้การฟื้นตัวของญี่ปุ่นหลังยุคโควิด-19 ระบาด เป็นไปในทิศทางบวก เหมือนเป็นการเปิดบ้านล่อแขกในอนาคตนั่นแหละ
เพราะแม้ว่าผู้ชมต่างชาติจะไม่ได้เดินทางมาเข้าร่วมการแข่งขันในญี่ปุ่น แต่การที่มีโอกาสถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมทั่วโลกจะเป็นโอกาสให้ภาพบ้านเรือนของกรุงโตเกียวได้รับการมองเห็น และเกิดความต้องการเข้ามาลงทุน
โดยเค้ายังมีข้อมูลมาสนับสนุนอีกด้วยว่า สถิติในประวัติศาสตร์หลายปีที่ผ่านมา พบว่า ประเทศที่เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกจะมีดัชนี REIT ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 2 ปี เริ่มต้นจากปีที่เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน
ดังนั้นญี่ปุ่นก็มีแนวโน้มและความเป็นไปได้ที่ดัชนี REIT จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะเป็นผลพวงจาก Show Window Effect หรือผลจากหน้าต่างโชว์สินค้า ที่นักลงทุนทั่วโลกจะได้เห็นเมืองที่มีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่อย่างสวยงาม
ก็ได้แต่หวังว่าการแข่งขันโอลิมปิกที่ญี่ปุ่นในครั้งนี้จะสนุกและผ่านพ้นไปด้วยดีเนอะ เพราะถ้าจะเลื่อนต่อก็จะมีต้นทุนของการเลื่อนจัดงานก็สูงตามมาอีก
ส่วนตัวแล้วผมว่าถ้าญี่ปุ่นสามารถจัดงานออกมาได้ตามที่วางแผนไว้ ก็อาจจะเกิดผลที่ดีกว่าที่คิดนะ เพราะสามารถสร้างภาพจำที่ดีในการเป็นเจ้าภาพแบบมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใครจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้
รวมทั้งสร้างความหวังให้กับทุกคนว่าวิกฤติครั้งนี้กำลังใกล้จะจบลง และเราจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตและทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันได้อย่างเช่นเคย
ยังไงซะพวกเราที่อยู่ทางนี้ก็ช่วยกันเป็นกำลังใจให้เจ้าภาพและประชาชนชาวญี่ปุ่นกันนะครับ รวมถึงทัพนักกีฬาที่ออกไปเสี่ยงเพื่อสร้างความบันเทิงให้พวกเราทั่วโลกด้วย ไวต์โฮล พรุ่งนี้ที่สดใสรอเราอยู่~~~
Tag : Olympic Tokyo 2020 | อสังหาริมทรัพย์ | เศรษฐกิจ
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection