ผมเอ๊ะนิดหน่อยที่ช่วงหลายวันมานี้ไทม์ไลน์ facebook แสดงโพสต์เกี่ยวกับ "สะพานเขียว" ให้เห็นแทบทุกวัน
พอลองตั้งใจอ่านดูถึงได้รู้ว่าที่เอ๊ะนี่ก็เพราะรู้สึกคุ้นๆ หูครับ
คือว่าก่อนหน้านี้มันมี “ปรากฏการณ์สะพานเขียว” โลเคชันถ่ายภาพยอดฮิต เป็นสะพานไทยฟิลเตอร์ญี่ปุ่นที่หนุ่มสาวเขาแวะไปแชะภาพกัน ดารงดาราอัพไอจีกันตรึม
ซึ่งถ้าค้นต่อไปอีกจะรู้ว่าสะพานเขียวกำลังมีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์อยู่ด้วย แต่โครงการต้องชะงักไปนานเพราะการเข้ามาของโควิด-19
แต่ว่าตอนนี้น้องได้ฤกษ์กลับมาดำเนินโครงการต่อแล้วครับ!
เห็นแล้วก็ใจฟูนะ การที่เราจะมีสวนสาธารณะ (บนสะพาน) ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริงเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งแห่ง
แถมยังเกิดขึ้นในพื้นที่ที่เป็นแหล่งชุมชนด้วย ประโยชน์ที่ได้รับกลับมาเรียกได้ว่าคูณสามคูณสี่กันไปเลย
ที่ผมตามๆ ดูคือเริ่มต้นทำประชาพิจารณ์กันแล้ว ได้ข้อสรุปว่าจะเริ่มเดือนสิงหาคมปีนี้แล้วไปเสร็จเอาช่วงปลายปี
ส่วนตัวผมเห็นแผนแล้วรู้สึกได้ถึงความอินเตอร์เหมือนกัน วันนี้ไม่รอช้า ขอแวะหยิบมาฝากบรรดาลูกเพจเสียหน่อยครับ
"สะพานเขียว" ที่ว่านี้ถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเท้าและจักรยานสำหรับเชื่อมจากฝั่งสวนเบญจกิติไปถึงสวนลุมพินีด้วยระยะทางทั้งหมด 1.3 กิโลเมตร สร้างขึ้นตอนปี 2543 นับนิ้วดูก็นานกว่า 20 ปีแล้วนะ
ถ้าให้เล่าก็คือ "สกายวอล์คแห่งแรกของกรุงเทพฯ" แห่งนี้นั้นด้วยความที่มันผ่านมานานหลายปีเลยทำให้เกิดความทรุดโทรมของสภาพแวดล้อมใต้สะพานอยู่บ้าง
ที่สำคัญคือจุดขึ้นลงมีน้อยแถมยังอยู่ไกลกัน แสงสว่างเองก็ไม่เพียงพอ พูดไปพูดมามันก็แทบจะเรียกได้ว่าเป็นสถานที่ (เกือบ) อโคจรได้เลย
ผมลองไปหาข้อมูลดู เขาบอกด้วยว่าสะพานเขียวเคยเป็นพื้นที่เสี่ยงที่ได้รับการร้องเรียนเข้ามามากเป็นอันดับที่ 2 ของกรุงเทพฯ ด้วย!
แต่เพราะศักยภาพของตัวสะพานมันดีมากครับ ตั้งอยู่ในย่านดังของกรุงเทพฯ ทั้งฝั่งถนนวิทยุ และถนนอโศก-รัชดา อยู่ระหว่างสวนสาธารณะประจำเมืองอย่างสวนลุมพินีและสวนเบญจกิตติ
ที่เก๋คือตัวสะพานตั้งพาดชุมชนที่นับว่าเป็น “Urban Village” อย่างชุมชนโปโล ชุมชนมหาไถ่ และชุมชนร่วมฤดี ถือว่าเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่รวมเอาสามศาสนาทั้ง พุทธ คริสต์ และอิสลาม มาไว้ในย่านเดียวเลย
ดังนั้นถ้าปล่อยให้ตัวสะพานไม่ได้รับการดูแลก็น่าเสียดาย ทาง กทม. เลยไฟเขียวให้ออกแบบปรับปรุงสะพานคอนกรีตและพื้นที่เชื่อมต่อที่ว่านี้ ให้กลายมาเป็น "The New Urban Space" สะพานเชื่อมชุมชน เชื่อมเมือง เชื่อมเศรษฐกิจ แห่งนี้นี่แหละจ้าาาา
น่าสนใจตรงที่โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สะพานเขียวเป็นการร่วมมือของ BMA, UddC-CEUS, Studio TAILA, ATOM Design, Landscape Collaboration, LRIC, QBIC, และ ThaiDham Development เจ้าเดียวกันกับที่ลงมือทำ สวนลอยฟ้าเจ้าพระยาบนสะพานด้วน ที่เคยฮือฮากันไปเมื่อไม่นานมานี้
ส่วนโปรเจ็คต์การปรับปรุงภูมิทัศน์สะพานเขียวจะมีจุดเด่นของการปรับปรุงด้วยกันทั้งหมด 5 จุดครับ
1. The New City Landmark ออกแบบ 3 จุดสำคัญบนสะพานเขียวให้สวยงาม โดดเด่น ตลอดทางของสะพานเขียว
2. The Sky Green Bridge เพิ่มความเขียวที่แท้จริงด้วยการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบนสะพาน ไม่ใช่แค่การทาสีเขียวลงไปเท่านั้น
3. The Learning Wetland ออกแบบโซนคลองไผ่สิงห์โตและโรงงานยาสูบให้กลายเป็นสวนแห่งการเรียนรู้
4. The New Common Space ฟื้นฟูพื้นที่ใต้สะพานเขียวเหนือคลองไผ่สิงห์โตที่เป็นพื้นที่ทึบ ให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ของชุมชนเปิดโล่ง
5. The Bridge of Light เพิ่มแสงไฟบนสะพานให้ชุมชนและคนทั่วไปมาใช้ประโยชน์ช่วงกลางคืน ด้วยการวางศิลปะแสงไฟ ทั้งดึงดูดคนทั่วไปเข้ามาใช้ประโยชน์และเสริมความปลอดภัยต่อการใช้งานสะพานเขียวไปพร้อมกัน
มันคือโจทย์สำคัญที่ทีมต้องเปลี่ยนสะพานเขียวแห่งนี้ให้เป็นพื้นที่สุขภาวะของทุกคน ต้องใส่ใจทั้งในส่วนของความปลอดภัย ความสะอาด ความสวยงาม การระบายน้ำในคลอง และการบริหารจัดการให้ยั่งยืน
ผมชอบการที่ทางทีมเค้าไม่ได้ใส่ใจแค่การปรับปรุงตัวสะพานอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึง "พื้นที่ใต้สะพาน" ด้วย เพราะตรงนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเชื่อมต่อและการเข้าถึงจากชุมชนด้านล่างสะพานขึ้นมาสู่พื้นที่บนสะพานได้เหมือนกันนะ
ยิ่งไปกว่านั้นคือ ถ้าหากโปรเจกต์นี้สำเร็จเสร็จเรียบร้อยเมื่อไหร่ล่ะก็ รับรองว่าสร้างประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้อีกเพียบครับ
เพราะนอกจากเราจะได้ทางเดินน่าใช้งานเพิ่มขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งแล้ว เรายังมีแลนด์มาร์กใหม่ที่ใครๆ ต่างก็ต้องอยากแวะไปเช็คอินกันแน่นอน
มุมหนึ่งคนภายนอกเข้ามาถ่ายรูป มาเดินเล่น แต่อีกมุมหนึ่งก็ถือเป็นการกระจายรายได้ให้แก่ผู้คนในชุมชนด้วยเหมือนกัน
เท่าที่ผมไปตามอ่านมาก็เห็นว่าร้านรวงต่างๆ ของคนในชุมชนเขาหารายได้จากการที่มีคนแวะเข้ามาเที่ยวสะพานเขียวกันเพียบเลยนะ
และต้องไม่ลืมว่าโปรเจ็คต์นี้ยังสร้างเสริมสุขภาวะทางกายและจิตใจด้วยอีกต่อ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่น่าใช้งานและปลอดภัยอีกหนึ่งแห่งในอนาคต
ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งใหม่ที่น่าจับตามองในอนาคตครับ เพราะต้องยอมรับจริงๆ ว่าการปรับปรุงพัฒนาสิ่งก่อสร้างในชุมชน ก็ถือเป็นการช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณในชุมชนได้อีกทางหนึ่งเหมือนกัน
ยังมีอีกหลายโปรเจ็คต์พัฒนาเมืองที่ทาง UDDC เค้ากำลังทำอยู่นะ แค่ละโปรเจ็คต์น่าสนใจทั้งนั้นเลย สามารถแวะไปดูได้ที่ facebook ได้เลยนะคร้าบบบ
ขอบคุณภาพจาก UDDC
Tag :
ว่ากัน 'ซอยหลังสวน' เปรียบเสมือน "แมนฮัตตันแห่งกรุงเทพฯ" คำกล่าวนี้ผมว่าไม่เกินจริงเลยนะ เพราะซอยหลังสวน ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่มีราคาที่ดินแพงที่สุดในประเทศไทย และมูลค่าเพิ่มอย่างต่อเนื่องทุกปี!!
นี่คือคอนโดที่ใกล้ "ลานชมเมืองภูเก็ต" บนเขารังมากที่สุด ทำให้คุณเห็นวิวเมืองภูเก็ตสวยๆตัดภูเขา ทะเล และท้องฟ้า ได้อย่างเต็มตา
ไม่อยากจะเชื่อว่า คอนโดที่มีค่าตัวเริ่มระดับ 7 หมื่นกลางๆ/ตร.ม. จะให้ สุขภัณฑ์อัตโนมัติ WASHLET (แบบที่ใช้ที่ญี่ปุ่นอ่ะ)
จะว่ายังไงดี...นี่น่าจะเป็นคอนโดทำเลนิชสุดๆ ไปเลยก็ได้ล่ะมั้ง ไม่งั้นก็คงต้องบอกว่าคือการ "บุกเบิก" อะไรทำนองนั้น
มาตามคำสัญญาครับ โครงการคอนโดใหม่ ใกล้รถไฟฟ้าสถานีพหลโยธิน 59 'Phyll Pahol 59 station' (ฟีล พหลฯ 59 สเตชั่น) จะมีภาษีดีกว่าในเรื่อง 'ระยะทาง' ครับ เพราะตัวนี้เค้าไม่ใช่แค่ 'ใกล้' รถไฟฟ้า แต่ตัวนี้เค้า 'ติด' รถไฟฟ้า เรียกได้ว่า 0 ก้าวถึงรถไฟฟ้า ประตูคอนโดจ่อหน้าบันไดขึ้นสถานีกันเลยทีเดียว
เกริ่นนำมาเลยว่านี่คือการเดินส่องทำเลโครงการ ที่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นโครงการอะไรนะครับ ข้อมูลในมือตอนนี้ทราบแค่ว่าเป็นที่ดินจาก AP ขนาดที่ดินเท่านี้ ยังไงก็ต้องคอนโดละวะ!!
หลังจาก ปล่อยให้สงสัยมานาน ว่าที่ดินตรงถนนเลียบหาด หรือพัทยา สาย 1 แถวๆพัทยากลาง ที่พี่สิบหมื่น ล้อมรั้วปักความเป็นเจ้าของมาได้เป็นปีๆล่ะ จะพัฒนาเป็นโครงการอะไรหนอ?
ไหนใครกำลังจะรีไฟแนนซ์กันบ้าง ใครกำลังผ่อนบ้านอยู่เพลิน ๆ นี่ห้ามลืมเด็ดเลยนะ เพราะหนี้บ้านพอพ้น 3 ปีแรก ดอกเบี้ยจะพุ่งขึ้นแบบก้าวกระโดดเลย
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็นองเต็มตลิ่ง...
ใกล้รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน MRT พระราม 9 ประมาณ 420 ม. เป็นรถไฟฟ้าสายสำคัญวิ่งเป็น Loop เชื่อมกับรถไฟฟ้าสายอื่นมากมาย จะไปไหนก็ง่ายดาย
‘ภูมิสถาปนิค‘ ท่านหนึ่งบอกกับผมว่า “Lanscape โครงการนี้สวยที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ไม่มีที่ไหนใกล้เคียงความเป็น ‘สวนแบบ Classic’ ที่เป็น ‘quite luxury’ ได้เท่านี้แล้ว“
เฮ้ย! เนื้อที่ดีมันเป็นแบบนี้นี่เอง 5555