โอ้ย เรียกได้ว่าตามข่าวกันมาน๊านนาน สำหรับเรื่องการผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเดิม ซึ่งปัจจุบันก็ยังต้องตามอยู่ดี
ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจครับ หลังจากผ่านมาร่วม 24 ปี ที่ธนารักษ์ผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่ราชพัสดุบริเวณสถานีขนส่งหมอชิตเดิม เนื้อที่ 63-2-65 ไร่ ซึ่งมีกรมการขนส่งทางบกครอบครอง เป็นที่ตั้งโรงจอดและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าและสถานีขนส่งร่วมกันตามมติครม. เมื่อปี 2537 โดยมีเงื่อนไขต้องสร้างสถานีขนส่งชั่วคราวถนนกำแพงเพชร (สถานีขนส่งหมอชิตปัจจุบัน) และสถานีขนส่งบนที่เดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)
ซึ่งบจ.เทอร์มินอล เป็นบริษัทที่ชนะการประมูลและได้เซ็นสัญญาการก่อสร้างไปตั้งแต่ปี 2539 แล้ว แต่ต้องมาชะงักไว้ตั้งแต่ปี 2544 เพราะคณะกรรมการกฤษฎีวินิจฉัยว่าสัญญาก่อสร้างไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาปี 2556 ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยสถานะสัญญาว่ากรมธนารักษ์ยังต้องปฏิบัติตามสัญญาต่อไป จึงได้เจรจาเอกชนใหม่ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 จนได้ข้อยุติว่าเอกชนจะลงทุนโครงการ 26,916 ล้านบาท สัมปทาน 30 ปี ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อ 24 ต.ค. 2561
โดยโครงการดังกล่าวมีพื้นที่รวม 888,046 ตร.ม. เป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ 776,046 ตร.ม. ประกอบด้วย ศูนย์การค้า อาคารสำนักงานให้เช่า อาคารที่พักอาศัย โรงแรม อาคารจอดรถ ศูนย์ประชุม และสถานีรับส่งผู้โดยสาร บขส. ซึ่งต้องกันพื้นที่ 112,000 ตร.ม. รองรับการย้ายกลับมาที่เดิม โดยเอกชนจ่ายผลตอบแทนให้ 550 ล้านบาท ค่าตอบแทนการใช้ที่ดินระหว่างก่อสร้าง 509,300 บาท ค่าเช่า 5 ปีแรก 5.35 ล้านบาท/ปี ปรับขึ้น 15% ทุก 5 ปีตลอดอายุสัญญา
แต่การเดินหน้าโครงการติดเรื่องความชัดเจนการใช้พื้นที่ของ บขส. และชาวบ้านคัดค้านเวนคืนขยายถนนวิภาวดีซอย 5 และทางยกระดับเชื่อมโทลล์เวย์กับโครงการอาคารอู่จอดรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ากับถนนวิภาวดี
ปัจจุบันเอกชนอยู่ระหว่างเสนอขออนุมัติ EIA จะแล้วเสร็จใน 6 เดือน จากนั้นกรมจะเซ็นสัญญากับเอกชนใหม่ และเริ่มงานก่อสร้าง จะใช้เวลาสร้าง 5 ปี โดยเพิ่งมีข้อสรุปว่า บขส.ยังขอใช้สิทธิในพื้นที่ 1.1 แสน ตร.ม. และปรับรูปแบบบริการเป็นรถโดยสารขนาดเล็ก แบบมินิบัสและรถไฟฟ้า เพื่อลดความแออัดของปริมาณการจราจรโดยรอบ เป็นโอกาสดีที่ บขส.เปลี่ยนคอนเซ็ปต์ เพราะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเวนคืน เมื่อมีข้อยุติว่าไม่ต้องสร้างแลมป์เชื่อมถนนวิภาวดีแล้ว อาจต้องดีไซน์แบบใหม่ เพราะเดิมจะมีทางเชื่อมกับแลมป์ที่ชั้น 4 และชั้น 5 และต้องทำ EIA เพิ่มเติม
สำหรับรูปแบบโครงการยังพัฒนาเป็นมิกซ์ยูส เงินลงทุน 26,916 ล้านบาท แต่อาจปรับในส่วนของพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้สอดรับกับตลาดปัจจุบัน ซึ่งตามแผนเมื่อ EIA เสร็จแล้ว ปี 2565 จะทบทวนสัญญา เนื่องจากรายละเอียดเปลี่ยนไปเช่น การกำหนด FAR เปลี่ยนไป ในสัญญาเดิม 10 : 1 แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 8 : 1 และตอนเซ็นสัญญารถไฟฟ้าใต้ดินยังไม่เสร็จ มีบางส่วนเว้ามากินในพื้นที่ 1 ไร่ ทำให้พื้นที่ที่จะส่งมอบให้บริษัทเหลือ 7.1-7.2 แสน ตร.ม. ส่วนการก่อสร้างจะเริ่มปี 2566 จากเดิม 2565 ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี
ตามกันมานาน ล่าช้ากว่าเดิมไปอีก 1 ปี ก็หวังว่าครั้งนี้จะไม่ต้องติดขัดอะไรแล้วเนอะ
Tag : หมอชิตคอมเพล็กซ์ |
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection