มาแล้วครับ มาตามนัดตั้งแต่ต้นปีเลยครับ.... ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2564
กทม. เค้าออกมาย้ำเตือนคนกรุงให้เตรียมไปเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประจำปี 2564 กันให้เรียบร้อย งานนี้แจงมาละเอียดยิบเลยนะ ใครจัดเก็บ ใครต้องจ่าย ขอให้ประชาชนตรวจสอบบัญชีให้เสร็จ 31 ม.ค.นี้
โดยผู้มีหน้าที่จัดเก็บ ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึง กทม. และเมืองพัทยา ทั้งนี้ภาษีที่ดินใหม่นี้จะทำการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี
ซึ่งในสถานการณ์ปกติ กทม. จะจัดทำประกาศบัญชีรายการให้ประชาชนตรวจสอบและยื่นคำร้องขอภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
แต่ช่วงโควิดนี้ อะไร ๆ ก็ทำให้ล่าช้ากันไปหมด เค้าเลยเลื่อนออกมาเป็นถึงสิ้นเดือนมกราคมปีนี้แทน แต่นี่ก็จะครึ่งเดือนเข้ามาแล้ว เพราะงั้นเพื่อน ๆ ก็เร่งทยอยกันไปตรวจสอบกันให้เรียบร้อยล่ะ
สำหรับการแบ่งประเภทการใช้ประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ ประกอบการเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย และรกร้างว่างเปล่า
1.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ประกอบเกษตรกรรม ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินทำเกษตรมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ซึ่งใช้ในการทำการเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น ทำนา ทำไร่ หรือสร้างสิ่งปลูกสร้างไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ โดยจะมีมูลค่าทรัพย์สินเริ่มต้นที่ 0 – 75 ล้านบาท คิดอัตราภาษีเป็น 0.01% ไปจนถึงมูลค่าสูงถึง 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะคิดอัตราภาษี 0.1% (ภาษี ล้านละ 100 บาท)
2.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่อยู่อาศัยหลังแรกมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท, เป็นเจ้าของบ้านแต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท และผู้มีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 โดยมูลค่าที่เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.02% (ภาษี ล้านละ 200 บาท)
3.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากข้อ 1. และ 2. ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไว้ในครอบครองและใช้เพื่อการค้าหรือแสวงหากำไร เช่น การปล่อยเช่า ฯลฯ จะต้องเริ่มเสียภาษีตั้งแต่บาทแรก โดยมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท และคิดอัตราภาษีที่ 0.3% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)
4.ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามความแก่สภาพ ผู้เสียภาษีจะต้องเป็นผู้ที่มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งร้างไว้ ไม่ได้นำมาทำประโยชน์อะไร โดยจะมีมูลค่าหลักทรัพย์เริ่มต้นที่ 0 – 50 ล้านบาท อัตราภาษีร้อยละ 0.3% ไปจนถึงมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นได้ จะคิดอัตราภาษีอยู่ที่ 0.7% (ภาษี ล้านละ 3,000 บาท)
สำหรับผู้มีหน้าที่เสียภาษีที่ดินใหม่ ได้แก่ เจ้าของในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยคำว่าเจ้าของในที่นี้คือการเป็นเจ้าของในกรรมสิทธิ์หรือเจ้าของในโฉนดในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง หรือถ้าเป็นเจ้าของร่วมกันหลายคน เจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่งชำระภาษีครบถ้วนก็ถือว่าเรียบร้อยแล้ว และต้องชำระภายในเดือนเมษายนของปีนั้น ๆ เหมือนกับการชำระภาษีบำรุงท้องที่และภาษีโรงเรือนและที่ดินซึ่งถูกยกเลิกไป
ยกเว้นปี 2563 ที่ผ่านมา สามารถชำระภาษีได้ถึงเดือนสิงหาคม) ซึ่งสูตรคำนวณเป็นขั้นบันไดตามมูลค่าของฐานภาษีและจะปรับราคาประเมินที่ดินตามรอบบัญชีประเมินราคาทุก 4 ปี (ตามการปรับราคาประเมินที่ดินจากกรมธนารักษ์ ดังนี้
1.สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้าง คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี โดยมูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน (ต่อ ตร.ว.) x ขนาดพื้นที่ดิน
2.สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = (มูลค่าที่ดิน + มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี โดยมูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = (ราคาประเมินทุนทรัพย์โรงเรือนสิ่งปลูกสร้าง (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง)
3.สูตรคำนวณหาภาษีสำหรับห้องชุด คำนวณจากสูตร : ภาษีที่ต้องจ่าย = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี โดยมูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด (ต่อ ตร.ม.) x ขนาดพื้นที่ห้องชุด (ตร.ม.)
Tag : ภาษีที่ดิน | กทม |
'คอนโดเราสร้างเสร็จช่วงกลางปีหลังโควิด ตอนนี้โอนไปแล้วมากกว่า 80%' 'ตอนนี้มีคนลงทะเบียนรอเช่าห้องไว้หลายคน แต่น้อยกว่าคนปล่อยเช่า เลยต้องรอให้คนซื้อห้องก่อนแล้วค่อยเช่าต่อ!!!'
"โห อย่างกับ Low rise แถวสุขุมวิทตอนต้นเลย!!" เป็นคำที่หล่นออกมา ทันทีที่ผมย่างก้าวเข้าไปภายในอาณาเขตของโครงการ "Supalai Prime Rama 9"
ทั้งหมดนี้ทำให้ผมเข้าใจว่า 'พี่สิบหมื่น' สร้างเมืองใหม่ได้สำเร็จแล้ว ภายใต้ 'T77' แห่งนี้นี่เอง!
ย้อนกันไปเมื่อสองปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสมาเปิดตัวโครงการ “นิช ไพรด์ เตาปูน-อินเตอร์เชนจ์” แล้วครั้งนึง ตอนนั้นทึ่งมากนะที่เค้าบอกว่าจะมีส่วนกลางให้ถึง 30 ชั้น
หลังจากที่พาทุกคนไปสำรวจทำเลสายสีทอง ช่วงสถานีเจริญนครไปแล้ว ผมขอพาทุกคนเขยิบมาอีกนิด(แค่นิดเดียวจริง ๆ )ที่ "สถานีคลองสาน" กันบ้างดีกว่า
หลังจากที่รถไฟฟ้าสายสีทองเปิดวิ่งกันไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ผมเองก็ไม่พลาดขอแวะไปลองนั่งเจ้ารถไฟฟ้าคันกระปุ๊กกระปิ๊กนี้หน่อยครับ ว่าแต่คอนโดแถวนั้นมีตัวไหนน่าสนใจบ้างนะ
ไหนลูกใครกลัวการไปโรงพยาบาลบ้างครับ ไม่ต้องพูดถึงลูกนะ แค่คิดถึงเราตอนเด็กๆ เวลาไปโรงพยาบาลทีนี่ก็ไม่อยากไปเหมือนกัน เอาจริงโตมาขนาดนี้ก็ยังแอบขยาดโรงพยาบาลอยู่เลย
หลังจากที่คราวก่อนผมพาเพื่อน ๆ ไปส่องดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านของเดือนมกราคมกันไปแล้ว หลายคนที่ไม่ได้สนใจจะมีบ้านใหม่ แต่สนใจอยากจะรีไฟแนนซ์บ้านเก่าเพราะกลัวดอกเบี้ยจะพุ่งสูงขึ้นมากหลังเข้าสู่ปีที่ 4
ต้นปีแบบนี้มีใครวางแผนจะซื้อบ้านซื้อคอนโดกันอยู่บ้างไหมเอ่ย... วันนี้ผมได้รวบรวมอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 3 ปีแรกของธนาคารต่าง ๆ มาให้ดูกันในเดือนแรกของปี 2021 นี้ครับ
น้องหนูโควิด-19 กลับมาระบาดอีกครั้งแบบนี้ผมเองก็ละเหี่ยใจไม่น้อยครับ เพราะครั้งนี้กลับมาแบบหนักหน่วงกว่าเดิม เรียกได้ว่าใครที่สามารถทำงานที่บ้านได้ ก็ทำไปเพื่อความชัวร์ก่อนดีกว่า
และต้องยอมรับจริงๆ ว่าตัวแปรสำคัญในการเร่งความคิดเหล่านี้คือการเข้ามาของ Covid–19 หลายอุตสาหกรรมหันไปพึ่ง Ai หรือ Robot กันมากขึ้นกว่าเดิม
เหมือน ‘พี่ต้นไม้’ จะเอาที่ดินที่ขายไม่ได้มาทำเป็นตลาดนัดประเภท ‘Street Market’ ผมว่าเป็นไอเดียที่ดีอยู่นะ