ช่วงโควิด-19 นี้แทบทุกคนได้รับผลกระทบจากเจ้าวิกฤตตัวร้ายนี้ไปกันถ้วนหน้าครับ เรียกได้ว่าพระศุกร์เข้าพระเสาร์แทรกแบบแบ่งๆ กันไปตามยถากรรม 5555
ไม่ว่าจะด้านธุรกิจ ด้านการงาน หรือด้านความเป็นอยู่ ก็คือกระทบหมด กระทบจนเซเป๋ไปเลยทีเดียว
แต่แน่นอนว่าสิ่งหนึ่งที่กระทบมากๆ อย่างเห็นได้ชัดเลยก็คือในเรื่องของ "สภาพทางการเงิน"
ธุรกิจเดินได้ยาก รายได้ก็ชะงักลง เงินที่ควรได้ก็ลดจำนวนลงไปอีก เรื่องพวกนี้คงไม่ต้องเกริ่นให้ฟังกันมากความ เพราะผมคิดว่าหลายๆ คนน่าจะรู้ซึ้งกันดีถึงผลกระทบของมันกันมากอยู่แล้ว มองเงินในกระเป๋าแล้วก็เศร้าใจ ใครๆ ก็เป็นหนี้ เฮ้อออ
และแน่นอนว่าทาง ธปท. เค้าก็พยายามช่วยเหลือเราๆ ท่านๆ กันด้วยการออกแนวปฏิบัติสำคัญเรื่องการชำระหนี้เพื่อลดหนี้เสียและลดภาระหนี้ของประชาชนครับ เมื่อมีมาตรการนี้ออกมาก็น่าจะช่วยให้คนที่ได้รับผลกระทบสามารถเอาตัวรอดในช่วงวิกฤตนี้ไปได้หน่อย
สำหรับหลักเกณฑ์ในเรื่องของการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้และการตัดชำระหนี้นั้นก็มาเพื่อช่วยลดภาระหนี้ของประชาชนเลยแหละ และเกณฑ์นี้ก็จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติที่สำคัญในระบบการเงินของไทย 3 เรื่องครับ ซึ่งจะมีเรื่องอะไรบ้างนั้น เดี๋ยววันนี้เรามาพูดคุยกันในส่วนนี้ดีกว่า
หลักเกณฑ์สำคัญ 3 ข้อ
1. การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น
มาพูดถึงส่วนแรกกันก่อนนั่นคือ การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนฐานของ "เงินต้นที่ผิดนัดจริง" เท่านั้น ตรงส่วนนี้คืออะไร? มันก็คือการที่หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ผู้ให้บริการจะคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เฉพาะในส่วนของเงินต้นงวดที่ผิดนัดจริงเท่านั้นครับ
อันนี้คือเพื่อไม่ให้รวมไปกับส่วนของเงินต้นของค่างวดในอนาคตที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ ซึ่งจะต่างจากแนวปฏิบัติเดิมตรงที่ว่า ถ้าหากผิดนัดชำระหนี้แค่งวดเดียว ผู้ให้บริการทางการเงินก็สามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้จากฐานเงินต้นคงค้างทั้งหมดได้เลย มันเลยจะทำให้มูลค่าดอกเบี้ยผิดนัดสูงมาก เจ้าเกณฑ์ใหม่ข้อนี้เลยทำให้การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้นั้นสอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเป็นธรรมกับประชาชนตาดำๆ อย่างเรามากขึ้นนั่นเองครับ
2. การกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่ "อัตราดอกเบี้ยตามสัญญาบวกไม่เกิน 3%"
สำหรับในข้อที่สองนี้สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายๆ เลยคือ ถ้าอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาคือ 8% ผู้ที่ให้บริการทางการเงินจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้ไม่เกิน 11% ครับ (แต่ว่าตรงนี้เองก็ต้องคำนึงถึงประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาด้วยนะ) ซึ่งมันจะแตกต่างไปจากวิธีการเดิมตรงที่ผู้ให้บริการทางการเงินกำหนดอัตราดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ได้เอง
ซึ่งในส่วนของการปรับเกณฑ์ครั้งนี้ก็จะช่วยกระตุ้นให้ลูกหนี้พยายามจ่ายชำระหนี้ครับ แล้วก็จะเป็นการลดโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ไปเอง แถมยังช่วยให้ระบบการเงินนั้นมีความสมดุลมากขึ้น กลับกัน ในส่วนของการฟ้องร้องดำเนินคดีเองก็จะลดลง
3. การกำหนดลำดับการตัดชำระหนี้โดยให้ "ตัดค่างวดที่ค้างชำระนานที่สุดเป็นลำดับแรก"
ข้อสุดท้ายนี้มาเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับรู้ลำดับการตัดชำระหนี้ที่ชัดเจนครับ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้ เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปจ่าย "ค่าธรรมเนียม-ดอกเบี้ย-เงินต้น" ของงวดหนี้ที่ค้างชำระนานที่สุดก่อน จะต่างไปจากแนวทางเดิมตรงที่เงินที่จ่ายเข้ามาจะถูกนำไปตัด "ค่าธรรมเนียมทั้งหมด" ตามด้วย "ดอกเบี้ย" ทั้งหมด แล้วจึงค่อยนำเงินส่วนที่เหลือนั้นมาตัด "เงินต้น" ทีหลังนั่นเอง
การปรับเกณฑ์ใหม่ข้อนี้จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เงินงวดที่ลูกหนี้ผ่อนในแต่ละเดือนนั้นสามารถตัดถึงเงินต้นได้มากขึ้น แล้วก็ช่วยลดการเกิดหนี้ด้อยคุณภาพ ที่สำคัญคือช่วยให้ลูกหนี้มีกำลังใจในการจ่ายชำระหนี้แบบต่อเนื่องต่อไปครับ อ้อ! นอกจากนี้ยังช่วยให้ประวัติการผ่อนชำระหนี้ของลูกหนี้นั้นสอดคล้องไปกับข้อเท็จจริงมากขึ้นอีกด้วยนะ
เริ่มเมื่อไหร่? ผิดนัดจะเป็นยังไง?
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ธปท. เค้าส่งหนังสือเวียนไปถึงผู้ให้บริการทางการเงินทั้งหลายเกี่ยวกับเรื่องประกาศการกำหนดเกณฑ์การคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้แล้วล่ะครับ แต่ว่าตัวกำหนดเกณฑ์นี้จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 หรือก็คือปีหน้าโน่น
แต่ว่าในส่วนของลำดับการตัดชำระหนี้นั้นจะแตกต่างออกไปคือจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ครับ เพราะว่าทางผู้ให้บริการทางการเงินยังต้องใช้เวลาในการปรับปรุงระบบงานที่เกี่ยวข้อง
สำหรับการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 เมษายน 2564 นั้น ทางผู้ให้บริการทางการเงินสามารถนำหลักการตามประกาศฉบับใหม่มาใช้พิจารณายกเว้นหรือผ่อนปรนดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ตามสมควรได้ครับ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ก็มีลูกหนี้จำนวนมากที่กำลังเดือดร้อนเพราะวิกฤตโควิด-19 อ่ะเนอะ ในกรณีแบบนี้เองก็คงจะมีเหมือนกันแหละ
ตัวมาตรการการชำระหนี้ที่ออกมาใหม่นี้น่าจะช่วยลดโอกาสการเกิดหนี้เสียของระบบการเงินโดยรวมได้ไม่มากก็น้อยครับ และก็น่าจะช่วยให้ลูกหนี้ที่ไม่ตั้งใจจะผิดนัดชำระหนี้สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ด้วย แต่ยังไงก็แล้วแต่สิ่งสำคัญคือมันช่วยทำให้เกิดความเป็นธรรมในการให้บริการทางการเงินนี่แหละ
แต่ผมว่าสิ่งที่น่ากลัวหลังจากนี้คือผลกระทบบางอย่างอาจจะมีค่อยๆ ทยอยโผล่มาบ้างนะ เพราะหลายๆ ธุรกิจเองในตอนนี้ก็มีที่ขาดทุนอยู่ไม่น้อยเลย ยิ่งถ้าวิกฤตนี้ยังกินเวลายืดเยื้อต่อไปน่าจะมีผลกระทบที่หนักต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของเราไม่น้อยเหมือนกัน
เอาเป็นว่ายังไงปีหน้าเราได้รู้กันแน่นอนครับ ตอนนี้ใครคว้าจับอะไรไว้ได้ก็รีบคว้าไว้ก่อนเถอะ
Tag :
“โอ้โห ได้วิวนี้เลยเรอะ คอนโดอยู่ตรงนี้เลยจริงดิ นี่มันอยู่ท่ามกลางดง รีสอร์ท โรงแรม เลยนะ“ ผมเผลอหลุดปากออกมา เมื่อได้เห็นภาพโครงการครั้งแรก
"LIFE สาทร - นราธิวาส 22"...นี่น่าจะเป็น คอนโด LIFE ที่มีคนสนใจมากที่สุดในปี 2025
"KAVALON" พัฒนาโดย "เจ้าพ่อแคมปัสคอนโด" แห่งยุคอย่าง AssetWise ซึ่งนี่ก็เป็นโครงการที่ 6 แล้ว ในโซน ม.กรุงเทพ รังสิต
ในที่สุดที่ดินตรงหัวมุมพญาไท ต้นซอยรางน้ำ ที่ล้อมรั้วกันที่ไว้นานน๊านนานแล้วก็ลุ้นกันอยู่เป็นปีว่าจะขึ้นโปรเจกต์อะไร สรุปวันนี้ก็ได้ออกหัวออกก้อยแล้วในที่สุดครับ
ถ้าใครแวะไปสีลมจะเห็นได้ว่าเดิมทีมันมีที่ดินว่างติด BTS ศาลาแดง บริเวณข้าง Silom Complex อยู่
เอ๊ะ!! ปีนี้แบรนด์ 'Life' จาก AP มาติดๆ กันเลยแหะ!!
"MX27" ช่วง "อโศก-พร้อมพงษ์" นี่มันดงโรงแรมชัดๆ
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา แม้ว่าจุดศูนย์กลางจะอยู่ที่ประเทศเมียนมาร์ แต่แผ่นดินไหวครั้งนี้ กลับรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ถึงกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางไกลนับพันกิโลเมตร
เมื่อคนซาก็ได้เวลาไปกิน "CHICHA San Chen" ชานมไต้หวันฉบับออริจิ้นเทียบเท่ามิชลิน 3 ดาว!
วันก่อนไปเจอคาเฟ่หนึ่งมาครับ ชื่อร้านว่า Second Cafe Wanglang ไม่ใกล้ไม่ไกล อยู่ตรอกวัดระฆัง ตรงวังหลังนี่เอง
เปิดประสบการณ์ "Pavilion Luncheon Experience" เซ็ตอาหารไทยเบาๆ 4 ที่จากโรงแรม Dusit Thani Bangkok
ใครจะไปอินช่วงเทศกาลเท่า 'คริสปี้ ครีม' ล่าสุดเข้าเดือนเมษายน ก็ส่งโดนัทและเครื่องดื่มแบบไทยๆ 4 รสชาติ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ กับ Thai Sweet Selection