มหากาพย์ "แอชตัน อโศก" อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

มหากาพย์ "แอชตัน อโศก" อดีต ปัจจุบัน และอนาคต

Home   /   สาระบนดอย

โซน :

BTS : อโศก / /

MRT : สุขุมวิท / /

04 Aug 2021   17:27

P_20210804_CT_000_result

 

        ถ้าพูดถึงกระแสที่หนักหน่วงในวงการอสังหาช่วงที่ผ่านมานี้ คงจะหนีไม่พ้นกรณีโครงการคอนโดหรูอย่าง ‘แอชตัน อโศก’ ของพี่อนันดาที่ถูกศาลปกครองกลางสั่งเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอย่างแน่นอนครับ

        ซึ่งต้องบอกก่อนว่าทางอนันดาเค้าก็ไม่ได้นิ่งนอนใจนะครับ ภายในวันที่เกิดเรื่องก็มีการออกหนังสือชี้แจง รวมถึงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาก็จัดแถลงว่าพร้อมสู้เพื่อรักษาผลประโยชน์แก่ลูกบ้านถึงที่สุด

        แต่ก่อนเราจะไปพูดถึงพาร์ทปัจจุบันและอนาคต หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้ว โครงการนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์แบบนี้ครั้งแรกนะ แต่ก็สามารถผ่านพ้นจนมีลูกบ้านเข้าอยู่มาหลายปีแล้ว

        ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักโครงการนี้กันก่อนครับ ‘แอชตัน อโศก’ เป็นคอนโดหรู 51 ชั้นที่พัฒนาขึ้นโดย บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ และ มิตซุย ฟูโดซัง จากญี่ปุ่น เปิดตัวเป็นครั้งแรกในปี 2557 

        ถ้าย้อนกลับไปตอนนั้น ราคาเฉลี่ยเริ่มต้นเค้าก็สูงถึง 210,000 บาทต่อตารางเมตรเลยนะ ก่อนรีเซลในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งราคาก็สูงขึ้นไปด้วย เพราะต้องยอมรับว่าทำเลเค้านั้นกินขาดจริง ๆ 

        โดยขายหมด 100% ภายในระยะเวลา 1 เดือนหลังจากเปิดตัว เรียกได้ว่าเป็นโปรเจ็กต์ใหญ่ที่ได้รับความสนใจทั้งผู้ซื้ออยู่อาศัยและนักลงทุน ไม่ว่าใครก็อยากได้ไว้ครอบครอง

        ทุกอย่างก็ดูเหมือนจะไปได้สวยใช่ไหมครับ แต่หลังจากเริ่มก่อสร้างได้ไม่นาน ในปี 2559 ก็เริ่มมีการฟ้องร้องและร้องเรียนทั้งในเรื่องสิ่งแวดล้อมและการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ

        ดังนั้นวันนี้ติดดอยเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปดูกันครับว่าตั้งแต่อดีต มาจนถึงปัจจุบัน ‘แอชตัน อโศก’ เคยผ่านเหตุการณ์อะไรกันมาแล้วบ้าง และอนาคตต่อจากนี้จะต้องทำอย่างไรต่อไป ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเล๊ยยยย

 

อดีต_result

 

        ย้อนกลับไปแรกเริ่มเดิมที... ก่อนที่ที่ดินนี้จะตกมาเป็นของอนันดา ที่ดินแปลงนี้เป็นแปลงที่ยาวทอดไปกับถนน ซึ่งพอมีการสร้างเส้นทางรถไฟฟ้า MRT ทำให้ต้องโดนเวนคืนที่ดินโซนด้านหน้ากลายเป็นที่ของ รฟม. ไปตามระเบียบ

        ผลที่ตามมาก็คือต้นตอของปัญหาเพราะมันทำให้ที่ดินแปลงนี้กลายเป็นที่ตาบอด กลายเป็นว่าจะพัฒนาทำอะไรก็ไม่ได้ รฟม. เค้าก็เห็นใจเลยทำสัญญากับเจ้าของที่ดิน ทำทางเปิดเป็นทางเข้า-ออกให้ได้ใช้งาน โดยมีขนาด 6.4 เมตร

        ซึ่งในภายหลังทางอนันดาก็ได้ซื้อที่ดินนี้มาครอบครอง โดยที่กรรมสิทธิ์ที่ดินตอนซื้อนั้นยังพ่วงไปกับสิทธิในการใช้งานทางเข้า-ออกผ่านที่ดินของ รฟม. เช่นเดิม

        โดยตอนแรก ผู้พัฒนาโครงการได้ขออนุญาตก่อสร้าง อาคาร 7 ชั้น 1 หลัง เป็นอาคารชุดอยู่อาศัย จำนวน 23 units มีสำนักงาน และที่จอดรถ พื้นที่ 10,013 sqm ที่จอดรถ-ที่กลับรถ และทางเข้า-ออกของรถ 213 คัน พื้นที่ 1,520 sqm 

 

P_20210804_CT_014_result

 

        เวลาดำเนินมาถึงปี 2557 ทางอนันดาได้มีการยื่นคำขออนุญาต รฟม. ย้ายตำแหน่งทางเข้า-ออกขยับไปอยู่บริเวณด้านที่ติดกับสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ และขยายความกว้างเป็น 13 เมตร

        ซึ่งอนันดาก็ไม่ได้ขอฟรี ๆ นะครับ แต่มีการให้ค่าตอบแทนแก่ รฟม. เป็นเงินกว่า 97.6 ล้านบาท โดยเป็นไปในเชิงที่ว่าเช่าที่บริเวณนี้ เพื่อทำเป็นทางเข้า-ออกสำหรับผู้พักอาศัยในโครงการ

        สาเหตุที่เค้าอยากขยายทางเข้านี้ก็เพราะจะได้ก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่พิเศษ เกิน 30,000 ตารางเมตร ได้ ตาม พรบ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ว่า ต้องมีด้านหนึ่งด้านใดของที่ดิน ยาวไม่น้อยกว่า 12 เมตร ติดทางสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 18 เมตรนั่นเอง

        ทุกอย่างก็ดูจะเรียบร้อยดีครับ ในที่สุดอนันดาก็ได้รับใบอนุญาตฯ อย่างถูกต้องภายใต้การตัดสินใจของคณะกรรมการบอร์ดบริหาร รฟม. ณ ขณะนั้น แต่ไม่ได้ผ่านมติของคณะรัฐมนตรี และเปลี่ยนแบบใหม่มาเป็นอาคาร 50 ชั้นในปัจจุบัน

 

P_20210804_CT_020_result

 

        จนมาถึงช่วงกลางปี 2559 จุดแรกเริ่มของมหากาพย์นี้ก็เกิดครับ มีการร้องเรียนให้ยุติใครงการนี้ซะ นำโดยสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและตัวแทนชุมชนรวม 16 คน ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐ 5 แห่ง 

        ในสาเหตุร่วมกันละเลยต่อหน้าที่ โดยอนุญาตให้มีการก่อสร้างคอนโดมิเนียมแอชตัน อโศก ซึ่งเป็นอาคารสูงใหญ่พิเศษไม่ชอบด้วยกฎหมาย

        ประเด็นที่ฟ้องร้องกันก็มีทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมและการรุกล้ำพื้นที่สาธารณะ ซึ่งหลังจากศาลพิจารณารวมถึงตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ แล้วไม่พบว่าโครงการทำผิด โครงการก็เลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างต่อจนแล้วเสร็จในปี 2560 

        แต่ปัญหาไม่ได้จบแค่นั้น หลังจากเสร็จก็เริ่มมีลูกบ้านจะโอนแต่ติดปัญหาโอนไม่ได้เนี่ยสิครับ เนื่องจากสตง. ได้ทำหนังสือยื่นต่อ รฟม. เกี่ยวกับการอนุญาตให้ บมจ.อนันดาฯ ใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยไม่ผ่านอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทำให้ต้องเลื่อนการโอนออกไป

        แต่ปัญหาการโอนก็จบลง เพราะกรุงเทพมหานครเค้าได้ออกใบรับรองการก่อสร้างให้โครงการอย่างถูกต้อง ลูกบ้านก็เลยเริ่มโอนกรรมสิทธิ์ได้ตั้งแต่ในปี 2561 เป็นต้นมาครับ

 

ปัจจุบัน_result

 

        ตัดมาที่ปัจจุบัน... จากข้อมูลที่ผมสอบถามมาปัจจุบัน ‘แอชตัน อโศก’ มีลูกบ้านทยอยย้ายเข้าอยู่ไปแล้วกว่า 83% ของโครงการ และอยู่กันเรื่อยมาอย่างมีความสุข

        จนกระทั่ง 30 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมาได้มีผลการตัดสินจากศาลปกครองชั้นกลางให้เพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างของโครงการ เรื่องวุ่น ๆ จึงกลับมาอีกครั้งครับ

        ผมขอสรุปคำพิพากษาแบบเข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ที่ดินโดยรอบอาคารของโครงการในส่วนที่ติดกับถนนสาธารณะนั้นไม่เพียงพอตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร 

        โดยที่ดินที่เป็นที่ตั้งของอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ตาม พ.ร.บ. กำหนดไว้ว่าจะต้องมีระยะจากอาคารห่างจากถนนสาธารณะมากกว่า 12 เมตร ติดทางสาธารณะที่มีเขตทางไม่น้อยกว่า 18 เมตร

 

P_20210804_CT_015_result

 

        อ่าว... แต่ในพาร์ทอดีตอนันดาก็ยื่นคำขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินและขยายความกว้างเป็น 13 เมตรแล้วนิ ทำไมยังโดนฟ้องว่าไม่เพียงพออีก

        คำตอบก็คือทาง 13 เมตร เป็นทางที่องค์การรถไฟฟ้า "ให้ใช้ประโยชน์" เท่านั้น ไม่ได้ยกเป็น “ทางสาธารณะ” ตามนิยามกฎหมาย และการที่อนุมัติให้ใช้ ยังเป็นการผิดวัตถุประสงค์ขององค์กรและการเวนคืน จึง “ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” 

        ที่ดินส่วนทางเข้านั้นจริง ๆ ไม่ใช่ที่ดินของโครงการ การยื่นแบบขอดัดแปลงจากอาคาร 7 ชั้นมาเป็นอาคาร 50 ชั้น โดยยื่นพร้อมที่ดินขององค์การรถไฟฟ้า และทาง 13 เมตร ที่ให้ใช้ประโยชน์เป็นการยื่นไม่ถูกต้อง

        เพราะที่ดินที่ได้มาจากการเวนคืนของ รฟม. ไม่สามารถขยายเพิ่มได้ และต้องใช้ในจุดประสงค์อย่างในกรณีนี้คือทำเป็นรถไฟฟ้าเท่านั้นไม่สามารถทำเป็นทางผ่านได้

        ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาว่า พื้นที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งโครงการอาคารชุด Ashton Asoke ไม่เป็นไปตามข้อ 2 วรรคสอง ของกฏกระทรวง ฉบับที่ 33 (พ.ศ. 2533) ตามที่เป็นข่าวใหญ่ไป

 

P_20210804_CT_016_result

 

        ประเด็นมันก็อยู่ตรงนี้แหละครับ ช่องว่างทางกฎหมายและบทสรุปที่ไม่ชัดเจนของกฎเกณฑ์ว่า ‘ทำได้หรือทำไม่ได้’ คาบเกี่ยวกันอยู่ จึงไม่สามารถฟันธงกันได้ว่าใครผิดใครถูก

        แต่ต้องบอกก่อนว่าโครงการก็มีกระบวนการขั้นตอนที่ถูกต้องนะครับ ขออนุญาตจากหน่วยงาน ทั้งสำนักงานเขต สำนักการโยธา คณะกรรมการ EIA รวมถึง รฟม. เจ้าของที่ดินพิพาทก็ด้วย

        ตอนนี้ทางอนันดาเลยเตรียมยื่นสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปยังศาลปกครองสูงสุด ซึ่งน่าจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปีถึงจะรู้ว่าใครจะแพ้-ชนะ 

        ซึ่งเสียงในสังคมก็มีแบ่งออกเป็น 2 เสียง ทั้งอยากให้โครงการแพ้ และดำเนินการกับตัวอาคารให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ. ไม่ว่าจะต้องทำการทุบทิ้ง รื้อถอน หรือดัดแปลงยังไงก็ตาม

        และอยากให้เคสนี้เป็นบทเรียน พร้อมกับดำเนินการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ว่าทำไมละเลยต่อหน้าที่และปล่อยให้กลายเป็นปัญหาจนถึงตอนนี้

        อีกเสียงก็อยากให้โครงการอยู่ต่อไปได้ แก้กฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืน เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานใหม่กับที่ดินแปลงอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินได้สูงสุด

        ซึ่งถ้าทางอนันดาแพ้คดีแล้วจะชดเชยความเสียหายให้ลูกบ้านยังไงนั้น ยังไม่มีข้อตกลงในส่วนนี้ออกมานะครับ ตอนนี้ก็ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของกระบวนการทางศาลไปก่อน แล้วรอดูผลกันอีกทีครับ

 

อนาคต_result

 

        จากข้อมูลที่ทางอนันดาเค้าออกมาชี้แจงในงานแถลงข่าวเมื่อวันก่อน เค้าสรุปความเป็นไปได้ของคดีนี้ว่าคำตัดสินศาลน่าจะมี 2 แนวทางครับ

        แนวทางแรกคือทางศาลปกครองสูงสุดยกฟ้องหรือแก้ไขให้ใช้ที่ดินได้ กับแนวทางที่ 2 คือ ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืน หรือแพ้คดี ซึ่งหลังจากนี้ก็ต้องดำเนินการตามคำสั่งศาลต่อไป

        ซึ่งถึงแม้ผลจะออกมายังไงก็ตาม การระเบิดตึก ทุบทำลาย หรือรื้ออาคารทั้งตึกลงมาเป็นเศษเหล็ก เศษอิฐ เศษปูนนั้น สำหรับประเทศไทยอาจจะ 'เป็นไปได้ค่อนข้างยาก' หน่อยครับ

        อย่างเคสที่ผ่านมา ก็มีโรงแรมแห่งหนึ่งในซอยร่วมฤดี สูง 18 ชั้น และ 24 ชั้น ที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางสาธารณะในซอยไม่กว้างพอให้สร้างได้ จนมีการฟ้องร้องกันมาตั้งแต่ปี 2552-2553 

        ซึ่งที่สุดแล้วศาลปกครองสุงสุดมีคำพิพากษา ให้ กทม.และ ผอ.เขตปทุมวัน ใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 สั่งรื้อถอนในปี 2557

        แต่ก็นั่นแหละครับ จนมาถึงปัจจุบันนี้อาคารดังกล่าวก็ยังคงอยู่ อีกทั้งยังเปิดให้บริการเป็นโรงแรมได้ด้วย แต่ก็ยังมีคดีความต่อเนื่องกับหน่วยราชการมาจนถึงทุกวันนี้นะครับ

 

P_20210804_CT_017_result

 

        ถ้าเทียบกับ ‘แอชตัน อโศก’ แล้วยิ่งหนักกว่า เพราะเป็นอาคารที่มีเจ้าของร่วมจำนวนมาก ไม่ได้เป็นเจ้าของเดียวเหมือนกับโรงแรมดังกล่าว หากมีการรื้อถอนจริงๆ จะมีผู้ได้รับผลกระทบจำนวนมาก 

        และที่สำคัญ คดีเกี่ยวกับการควบคุมอาคารนั้น คำพิพากษาของศาลจะไม่ได้สั่งรื้ออาคารที่ก่อสร้างผิดกฎหมายโดยตรง แต่ศาลจะสั่งให้มีการบังคับคดีออกประกาศตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 เพื่อให้รื้ออาคารแทน 

        เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้เช่นนั้น จึงทำให้ดูเหมือนเป็นไปอย่างล่าช้า และผู้ฟ้องคดี ไม่ได้ฟ้องให้สั่งรื้ออาคาร แต่ทุกคดีจะฟ้องเจ้าหน้าที่รัฐละเลยการใช้อำนาจยับยั้งการก่อสร้างอาคารที่ผิดกฎหมาย ซึ่งอำนาจในการยับยั้งอยู่ในอำนาจการบังคับคดีของรัฐทั้งสิ้น

 

P_20210804_CT_018_result

 

        ยังไงก็ตาม... ที่ผมบอกว่าการรื้อถอนนั้น 'เป็นไปได้ค่อนข้างยาก' แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า 'เป็นไปไม่ได้' นะครับ ต้องรอเวลา 3-5 ปีดูว่าใครจะแพ้-ชนะแล้วค่อยมาลุ้นกันอีกที 

        แต่!!! อนาคตที่น่าจับก่อนจะถึงเวลานั้นก็คือความเสี่ยงของเจ้าของร่วมในอาคารนั้นแหละครับ เพราะ “การเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง” อาจจะลามไปเพิกถอนใบอนุญาตการใช้อาคาร และการเพิกถอน “เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2” ด้วย

        ซึ่งเคสแบบนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นจริงนะครับ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นมาจริง ๆ อาจจะทำให้การซื้อ-ขาย เปลี่ยนมือห้องชุด ไม่สามารถทำได้อีกต่อไป 

        และสภาพการเป็นนิติบุคคลอาคารชุด อาจต้องเกิดการตีความต่อไป สถานการณ์แบบนี้ทำให้เจ้าของร่วมต้องทำใจเรื่องผลตอบแทนจากการลงทุนเลยครับ แหะ ๆ

 

P_20210804_CT_002_result

 

        และทั้งหมดทั้งมวลที่ผมเล่ามานี้ก็เป็นมหากาพย์ของโครงการ ‘แอชตัน อโศก’ ที่เป็นประเด็นอยู่ในตอนนี้ และยังคงต้องติดตามความคืบหน้ากันต่อไป

        แต่สิ่งที่ผมอยากให้ทุกคนมั่นใจก็คือ... ไม่ว่าอนาคตผลจะออกมาแบบไหน อนันดาเค้าก็ยืนยันว่าไม่ทอดทิ้งลูกบ้าน และยังจะยืนอยู่ข้างลูกบ้านแม้ว่าโครงการนี้จะโอนไปแล้วเกือบทั้งหมดก็ตาม

        เพราะยังไงก็ตามในฐานะที่เป็นเจ้าของโครงการทางอนันดาจะแสดงความรับผิดชอบในการทำเรื่องนี้ให้ดีกับทุกฝ่ายอย่างเต็มความสามารถที่สุดครับ

        ล่าสุดเอฟเฟ็กต์ก็จากปัญหานี้ก็ยังไม่จบนะครับ เพราะส่งผลให้อนันดาต้องหารือกับ ก.ล.ต. เพื่อเลื่อนขายหุ้นกู้ เพื่อให้นักลงทุนได้มีเวลาพิจารณาข้อมูล และทราบว่าทางบริษัทเตรียมจะดำเนินการอย่างไรก่อนตัดสินใจ

        ติดดอยก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกฝ่ายทุกคนนะครับ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร แต่เคสนี้จะกลายเป็นบรรทัดฐานใหม่ให้ทั้งนักพัฒนาโครงการและผู้ซื้อทุกคนต้องรอบคอบและใส่ใจมากกว่าเดิมอย่างแน่นอนครับ :)

 

P_20210804_CT_019_result

P_20210804_CT_004_result

P_20210804_CT_005_result

P_20210804_CT_006_result

P_20210804_CT_007_result

P_20210804_CT_008_result

P_20210804_CT_009_result

P_20210804_CT_010_result

P_20210804_CT_011_result

P_20210804_CT_012_result

P_20210804_CT_013_result

 

Tag : Ananda Development | Ashton Asoke | รฟม.



ติดดอยแนะนำ

ติดดอยรีวิว

"Cooper Siam" คอนโด Loft ของแทร่ ที่ถึงบรรทัดทอง เยาวราชของคนรุ่นใหม่ ได้ใน 1 นาที!!

ช่างเป็นคอนโดที่เหมาะกับคนเห็นแก่กินอย่างพวกผมยิ่งนัก 555 จะหันซ้ายหันขวา ก็คราคร่ำไปด้วยร้านของกินเด็ดๆ เรียงกันเป็นแถว

ทำไม "Supalai Premier สามเสน-ราชวัตร" ยังไงก็ขายหมด

เคยมีคนถามผมว่า "สมัยนี้ ยังสามารถสร้างคอนโดที่ไม่ใกล้รถไฟฟ้าได้ไหม?" ได้สิ เพราะแม้ว่าความใกล้ รถไฟฟ้า จะเป็น 1 ในปัจจัยหลักที่สำคัญมาก แต่มันก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ "ขาย" ได้อยู่อีก

หนึ่งในคอนโดที่ปล่อยเช่าดีมาก ตอนเช้าย้ายออก ตอนบ่ายย้ายเข้าเลย

จะมีคอนโดปล่อยเช่าอยู่อันนึง ที่แม้แต่ตอนโควิดก็ไม่มีผลอะไร มีคนเช่าตลอดๆ แทบไม่มีช่วงว่าง บางครั้งคือ คนเก่าย้ายออกตอนเช้า ตอนเย็นคนใหม่ใส่หน้ากากอนามัยขนของเข้าอยู่ต่อเลย


ติดดอยโร้ดทู

"Passion Living Sukhumvit 38" จะใช้ชีวิตติด Passion สไตล์อนันดา ก็ต้องมีคอนโดติด BTS ทองหล่อหลายๆ ตัวหน่อย

"PASSION LIVING" คือชื่อที่อนันดาใช้สำหรับแปะป้ายพื้นที่โครงการครับ

PYNN Pridi 20 (พินน์ ปรีดี 20) คอนโดเลี้ยงสัตว์ได้ ใกล้ BTS พระโขนง ขีดสุดของความ Privacy เพียง 36 ยูนิต

'PYNN Pridi 20' (พินน์ ปรีดี 20) คอนโดใหม่แถวซอยปรีดีฯ 20 จากภาพที่เห็นตอนเปิดตัว ก็พอทราบแล้วว่าแบรนด์ 'PYNN' เป็นแบรนด์ที่แสนสิริเค้าน่าจะปั้นให้มีจุดเด่นในแง่ของการเป็นคอนโดเล็กๆ ในซอยสงบๆ เน้นความเป็นส่วนตัวสูงและสามารถเลี้ยงสัตว์ได้

"มิวนีค เจริญกรุง" (MUNIQ Charoen Krung) คอนโดที่ฮอตตั้งแต่เปิดตัว บนทำเลสุดปังตรงข้ามนานาชาติโชรส์เบอรี่ วิวโค้งน้ำเจ้าพระยา

ตั้งแต่เปิดปีมาคอนโดภายใต้แบรนด์ 'MUNIQ' (มิวนีค) สามารถกวาดยอดขายช่วงพรีเซลไปได้แบบโกยได้โกยของแท้ เค้าเป็นแบรนด์ที่ทำให้ตอนนี้เมเจอร์ยอดขายรอรับรู้รายได้หรือ Backlog มากกว่า 4,400 ลบ. แล้วครับท่านผู้ชม!!


ติดดอยสไตล์

“แอสเซทไวส์” เตรียมอวดโฉม 3 แคมปัสคอนโดพร้อมอยู่แบรนด์ Kave แล้ว วันนี้!

ตอนนี้จ้าวแคมปัสคอนโดของตลาดอสังหาบ้านเรา ไม่ต้องให้ใบ้ก็ตอบได้ว่าคือ“แอสเซทไวส์” นี่แหละ

"แสนสิริ" เปิดตัวแบรนด์ใหม่ "ELSE" EXCLUSIVE RESIDENCES ทำโครงการไม่เกิน 10 หลัง!

หมู่บ้านต้องมีไม่เกินกี่หลัง ถึงจะเรียก Private ถ้าแค่ 1 หลัง Private พอมั้ย? ‘แสนสิริ‘ เปิดตัวแบรนด์ใหม่ ‘ELSE’ เป็น EXCLUSIVE RESIDENCES ทำโครงการไม่เกิน 10 หลัง!

สุดเจ๋ง!! พี่จีนสร้างสนามบิน Lishui แห่งใหม่ในมณฑลเจ้อเจียง ชูเอกลักษณ์เมืองและธรรมชาติกับการสร้างสนามบินในสวน!!

ประเทศจีนเป็นประเทศที่มีอะไรให้เราว้าวอยู่ตลอดเวลาจริงๆ นะ อย่างล่าสุดเค้ากำลังทำการสร้าง สนามบิน Lishui (หลี่ซุย) แห่งใหม่ในมณฑลเจ้อเจียง ซึ่งพี่จีนไม่ได้สร้างให้เป็นแค่สนามบินธรรมดา แต่นี่คือสนามบินที่สร้างในสวน เป็นรูปแบบของสนามบิน "Forest City" !!

"Conrad Bangkok Sukhumvit Queens Park" โรงแรมใหม่ที่ถูกล้อมกรอบด้วยห้างตระกูล Em ณ พร้อมพงษ์นคร

หลังจาก "Emsphere" ห้างใหม่ในกลุ่ม "Em District" เปิดตัวไป ก็เพิ่มกระแสให้กับพื้นที่รอบด้านได้เพียบเลย ขนาดแค่เปิดตัววันแรกคนก็มหาศาล เรียกว่าสมราคาตระกูล Em สุดๆ

“คริสปี้ ครีม x คิทแคท” (Krispy Kreme x KitKat) ชวนทุกคนมาลิ้มลอง 3 ความอร่อยใหม่ได้แล้ววันนี้

คิดจะพักคิดถึงคิทแคท แต่ถ้าคิดถึงโดนัทอร่อยๆ ก็ต้องคิดถึงคริสปี้ ครีม ดิค้าบบ ไปลองกันยัง “คริสปี้ ครีม x คิทแคท” (Krispy Kreme x KitKat) กับ 3 โดนัทหน้าพิเศษสุดฟิน!!

ใครๆก็ขายบ้านได้กับ "SC Affiliate Wealth Partner Program ใครๆก็รวยได้" รับค่าตอบเเทนสูงสุดถึง 1,300,000 บาท*

แต่ก่อนผมคิดนะว่า การจะซื้อบ้านทีก็ต้องไปดูถึงโครงการ ไปดูให้เห็นกับตาแล้วค่อยตัดสินใจ แต่ด้วยอากาศแบบนี้ บางทีก็แอบส่องผ่านทาง Social เอาก่อน น่าจะดีกว่านะ 5555


© 2018 CONDOTIDDOI

ME ESTATE CO.,LTD
92/21 HOLLYWOOD STREET CENTER
PHAYATHAI RD. RACHATEVEE
BANGKOK 10400 THAILAND

02-656-6776
condotiddoi@gmail.com

CONTACT US

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

CONDOTIDDOI

085-546-4694

info.condotiddoi@gmail.com

Copyright www.condotiddoi.com © 2018
web design & programming by www.smilephp.com